วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552

คุณลักษณะของผู้บริหารแบบมืออาชีพในยุคปัจจุบัน


ใบงานที่ 9
คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพในยุคปัจจุบัน
มี 6 ประการมีรายละเอียดดังนี้
1.เป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลง หมายถึงผู้บริหารมืออาชีพจะต้องเป็นผู้ที่มี “ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์” เพื่อให้การบริหารสถานศึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น และเจริญรุดหน้าไปสู่ความเป็นเลิศได้อย่างรวดเร็ว เพราะวิทยาการต่าง ๆ ในโลกก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการมีโลกทัศน์ที่กว้างไกล จะเป็นพื้นฐานสําคัญที่จะช่วยให้ ผู้บริหารมืออาชีพมี “วิสัยทัศน์” สามารถกําหนดภาพอนาคตของสถานศึกษาได้อย่างชัดเจนและเหมาะสมกับยุคสมัย ตลอดจนกําหนดกลยุทธ์ในการบริหารเพื่อนําสถานศึกษาไปสู่จุดหมายนั้น
2.มีจิตวิญญาณนักบริหาร ผู้บริหารมืออาชีพจะต้องมีจิตวิญญาณนักบริหาร อย่างน้อย 3 ประการย่อยๆคือ
2.1 อุทิศตนเพื่อหน้าที่ เป็นผู้ที่มีรักและมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มุ่งมั่น ขยัน อดทน และเสียสละที่จะทํางานในหน้าที่ผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อนําสถานศึกษาไปสู่ความสําเร็จในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพอย่างสมบูรณ์ตามจุดหมายของการปฏิรูปการศึกษา
2.2 มีความเป็นปัญญาชน เป็นผู้ที่ดําเนินชีวิตและทํางานในหน้าที่โดยใช้ “ปัญญา” พิจารณาด้วยเหตุผล ตามหลักกาลามสูตร ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ โลภ โกรธ หลง และความลําเอียงด้วยอคติต่าง ๆ มีจิตใจที่เข้มแข็งหนักแน่นในเหตุผลแห่งความถูกต้อง ในความซื่อสัตย์ สุจริต และยุติธรรม
2.3 บริหารตนเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นผู้ที่ให้ความสําคัญต่อการประพฤติปฏิบัติตน เป็นแบบอย่างที่ดีในทุกด้าน ทั้งด้านความเก่ง ความดี และความมีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิตในฐานะที่มีหน้าที่เป็นผู้นําในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยยึดหลักว่า “จะพัฒนาใครเขาต้องพัฒนาตัวเราก่อน” นอกจากนี้ การพัฒนาตนให้มี “ภูมิรู้ ภูมิธรรม และภูมิฐาน” ยังช่วยให้ ผู้บริหารได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากครู ผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ทําให้ การบริหารได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายและประสบความสําเร็จสูงขึ้น
3.เป็นผู้นําทางการศึกษาผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ จะต้องเป็นผู้มี “ภูมิรู้” ทางด้านการศึกษา เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างการศึกษากับสภาวะแวดล้อมในสังคม สามารถวิเคราะห์ ปัญหาและแนวโน้มทางการศึกษาของไทยได้อย่างชัดเจน มีความเป็นผู้นำในการปฏิรูปการศึกษา เป็นผู้นำทางวิชาการ และเป็น ผู้นำในการบริหารคุณภาพการศึกษา
4. มีความรู้ความสามารถในการบริหาร ผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ นอกจากจะต้องมี “ภูมิรู้ ” ทางด้านการศึกษาแล้วยังต้องมี “ภูมิรู้ ” ทางด้านการบริหารอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ ในหลักการบริหาร เทคนิคการบริหาร และ การวางแผนกลยุทธ์ ตลอดจนสามารถนํา “หลักวิชา” ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ประสบความสําเร็จ ในการบริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูง
5.มีผลงานที่แสดงถึงความชํานาญการในการบริหารสถานศึกษาผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ จะต้องมีความสามารถในการใช้ ศาสตร์ และศิลปะในการบริหาร มาพัฒนาการบริหารงานด้านต่างๆ ภายในสถาบันการศึกษาให้ประสบความสําเร็จ สู่ความเป็นเลิศในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีความสามารถในการบริหารทรัพยากร ทั้งบุคคล เงิน วัสดุ ครุภัณฑ์ และอาคารสถานที่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อการบริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดสูงสุด
6.นํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหาร ผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพในยุคปัจจุบัน จะต้องรู้จักนํานวัตกรรมและ
เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การพัฒนาผู้เรียนประสบความสําเร็จ มีคุณภาพสมบูรณ์ ทั้งเป็นคนเก่ง เป็นคนดี และมีความสุขในชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ประโยชน์ของ Google.com
Google.com คืออะไรเว็บไซต์ Google (www.Google.com) เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการในการค้นหาข้อมูลในโลกของอินเตอร์เน็ต โดยค้นหาข้อมูลจากข้อความ หรือตัวอักษรที่พิมพ์เข้าไป แล้วทำการค้นหาข้อมูล รูปภาพ หรือเว็บเพ็จที่เกี่ยวข้องนำมาแสดงผล เว็บไซต์ Google ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ต้องการค้นหาข้อมูล
ที่มาของ Google.com
หาก พูดถึง กูเกิ้ล (Google) น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก Search Engine ที่ดีทีสุดในโลกตัวนี้ ด้วยความสามารถในการค้นหาข้อมูลแบบชาญฉลาด ปัจจุบัน กูเกิ้ล สามารถค้นหาข้อมูล โดยใช้เวลาไม่กี่วินาที ในการดึงข้อมูล จากแหล่งข้อมูลปริมาณมหาศาล 4,285,199,774 เว็บ และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หรือเรียกได้ว่าแทบจะทุกเว็บไซท์ในโลก ที่สำคัญ ข้อมูลที่ได้ หรือผลจากการค้นหามักจะถูกต้อง และตรงความต้องการของผู้ค้นหา จริงๆแล้ว เทคโนโลยีของ กูเกิ้ล ในการค้นหาหน้าเว็บไซท์ที่ต้องการมาจากสูตรการคำนวณอันแหลมคม ของนักศึกษามหาวิทยาลัย Stanford 2 คน คือ Larry Page และ Sergey Brin ทั้งคู่เจอกันตอนเรียนปริญญาเอกอยู่ที่นั่น (แต่ตอนนี้ drop ไว้ก่อน) (ซึ่งแน่นอนว่าตอนนี้รวยติดอันดับต้นๆของโลกไปแล้ว โดยไอเดีย หลักๆ เทคนิคในการค้นหาของ กูเกิ้ล ก็คือว่า จะมีการให้คะแนนแต่ละหน้าของเว็บไซท์ เพื่อจัดอันดับหน้าเว็บไซท์เรียงตามคะแนนเวลาค้นหา โดยคะแนนของแต่ละหน้าเว็บไซท์ จะคำนวณจากจำนวนของหน้าอื่นๆที่ลิงค์ไปหาหน้านั้น พูดง่ายๆว่าถ้ามีเว็บอื่นลิงค์มาที่เวบนี้เยอะ เว็บหน้านั้นก็จะมีคะแนนเยอะ
ประโยชน์ของ Google.com
1. ค้นหาโดยระบุคำสั่งพิเศษ
คุณ อาจเคยพบเห็นอยู่บ่อยๆ ว่า ในการค้นหาข้อมูลทั่วไปมักจะมีรายการของผลการค้นหาที่ไม่มีประโยชน์ติดมา ด้วยเสมอ ซึ่งคุณสามารถที่จะลดจำนวนข้อมูลที่พบได้โดยใช้การค้นหาแบบ Advanced Search (ค้นหาแบบละเอียด) เพื่อบอก ให้ Google จำกัดขอบเขตการค้นหาให้เหลือเฉพาะหน้าเว็บไซต์ที่ผ่านการตรวจสอบจาก Google ในช่วง 3 เดือน, 6 เดือน หรือ 12 เดือน ที่ผ่านมาเท่านั้น นอกจากนี้แล้วคุณยังกำหนดรูปแบบเอกสารของผลการค้นหาแบบเฉพาะเจาะจงได้อีก ด้วย เช่น ต้องการผลเป็นไฟล์ PDF หรือไฟล์ในรูปแบบของ Office และจำกัดการค้นหาหน้าให้อยู่ในประเภทของเว็บไซต์หรือโดเมนที่ต้องการเท่า นั้นได้เช่นกัน ซึ่งคุณสามารตรวจสอบ ชนิดของไฟล์ที่ Google สามารถค้นหาให้ได้ที่หน้าเว็บไซต์ http://www.google.com/help/faq_filetypes.html หรือคุณต้องการให้ Google ช่วยค้นหาสิ่งที่คุณต้องการเป็นพิเศษ ดังเช่น รูปภาพต่างๆ ได้เช่นเดียวกัน
2. ค้นด้วยคำที่มีความหมายเหมือนกัน
บ่อยครั้งที่คำจำกัดความตัวหนึ่งจะให้ผลการค้นหาที่ดีกว่าคำอีกคำหนึ่ง ทั้งๆ ที่ความหมาย ของคำทั้งสองนั้นเหมือนหรือใกล้เคียงกันแต่ไม่จำเป็นที่คุณจะต้องมานั่งปวดหัวเพื่อคิดหาศัพท์ คำอื่นมาทดแทนคำที่คุณต้องการ เพราะคุณสามารถปล่อยให้ Google ช่วยคิดแทนคุณได้ โดยให้คุณใส่เครื่องหมาย Tilde (~) หน้าคำที่ต้องการ ค้นหาโดยไม่ต้องเว้นวรรค Google จะค้นหาคำ Synonym ของคำที่คุณค้นหาให้ด้วย
3. ใช้ Google ช่วยแปล
แม้ว่า Google จะไม่สามารถทำลายกำแพงในเรื่องของข้อจำกัดด้านภาษาได้ แต่ก็สามารถช่วยให้คุณทำงานต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ให้คุณคลิกที่ Language Tools (เครื่องมือเกี่ยวกับภาษา) ที่หน้า แรกของ Google เพื่อเปิดการทำงานของตัวแปล ภาษา ซึ่งคุณสามารถพิมพ์ข้อความเข้าไปเพื่อให้ Google แปลข้อความดังกล่าวให้คุณได้หลากหลายภาษาด้วยกัน เช่น แปลจากภาษาเยอรมนี เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาฝรั่งเศส หรือแปลข้อความจากภาษาอังกฤษไปเป็นภาษาสเปน, โปรตุเกสหรือภาษาอิตาลี และอีกหลายภาษา แต่น่าเสียดายที่ยังไม่มีบริการสำหรับแปลภาษาไทย
ความสามารถที่ยังโดดเด่นไปกว่านั้นก็คือ Google สามารถแปลเนื้อหาในหน้าเว็บไซต์ทั้งหน้าได้ โดยคุณสามารถใส่ชื่อ URL ที่คุณต้อง การให้ Google แปลลงในกรอบ Translate the Website ในหน้าของ Language Tools หรือคลิกที่ลิงก์ Translate this Website ของหน้าเว็บไซต์ที่ Google ได้ค้นหาออกมาแล้ว Google จะใช้โปรแกรมในการแปลออกมา ซึ่งบ่อยครั้งที่ข้อความที่แปลออกมาจะฟังดูตลกหรือฟังไม่รื่นหูไปxxxง แต่หากคุณต้องการผลการแปลที่ดีกว่านี้ควรเปลี่ยนไปใช้เครื่องมือที่เรียกว่า �BabelfishŽ (http://babelfish.altavista.com) แทน ซึ่งตัวแปลภาษา Altavista ตัวนี้ใช้โปรแกรมในการแปลของ Systran ที่ค่อนข้างใหม่กว่าของ Google และมีประสิทธิภาพในการแปลที่ดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด ข้อดีอีกข้อหนึ่งก็คือ Babelfish สามารถเข้าใจได้ หลายภาษามากกว่า Google และสามารถแปล ภาษาญี่ปุ่น, เกาหลีและจีนไปเป็นภาษาอังกฤษ ได้อีกด้วย
4. ค้นหาเฉพาะกลุ่ม
โดย แท้จริงแล้วต้องถือว่าประสิทธิภาพของ เสิร์ชเอนจินทั่วไปไม่ดีเท่าที่ควรเพราะข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับคำที่คุณค้นหาจะถูกรวบรวมเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะมากเกินความจำเป็นและไม่เกี่ยวข้องกับที่คุณต้องการ วิธีที่สามารถแก้ปัญหานี้ได้คือค้นหาคำที่ต้องการโดยกำหนดขอบเขตของหัวข้อเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะทำให้การค้นหาถูกจำกัดวงให้แคบลง โดย Google ได้นำแนวคิดดังกล่าวมาใช้ในส่วนที่เรียกว่า Special Google Searches ซึ่งในขณะนี้มีหัวข้อให้เลือกใน การค้นหาอยู่ 6 หัวข้อ ดังเช่น การค้นหาจากหน้าเว็บไซต์ของ US (เว็บไซต์ที่มีโดเมนเป็น .us, .gov และ .mil) หรือการค้นหาเฉพาะหัวข้อที่เกี่ยวกับไมโครซอฟท์ ลินุกซ์ ยูนิกซ์ หรือแอปเปิลก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน นอกเหนือไปจากนั้นยังมี University Search ที่ ช่วยค้นหาเว็บไซต์เกี่ยวกับสถานศึกษาในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีกว่า 1,000 หน้าเว็บไซต์ให้เลือก การค้นหาโดยใช้ Special Google Searches ดังกล่าวนี้จะช่วยประหยัดเวลาให้คุณได้เป็นอย่างมาก เช่น หากคุณต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ DVD Writer สำหรับเครื่อง Apple แล้วคุณก็สามารถพิมพ์คำว่า Apple DVD Writer ลงไปแล้วทำการค้นหา ตามปกติคุณจะได้รับลิสต์รายการแสดงผลการค้นหากว่า 41,000 หน้าซึ่งประกอบด้วยหน้าเว็บไซต์โฆษณาขายสินค้าดังกล่าวนับไม่ถ้วน แต่หากคุณใช้การค้นหาผ่าน Special Google Searches โดยใช้เพียงคำว่า DVD-Writer ในกลุ่มของแอปเปิลคุณจะได้ ผลการค้นหาเพียง 1,500 หน้าเท่านั้น ซึ่งจะประกอบไปด้วยข่าวคราวความเคลื่อนไหว ทิป ผลการทดสอบ รวมไปถึงส่วนแบ่งตลาด เท่านั้นคุณสามารถใช้บริการ Special Google Searches ได้ตามลิงก์ http://www.google.com/options/special searches.html
5. Google Toolbar
Google Toolbar เป็นปลั๊กอินตัวหนึ่งสำหรับเว็บบราวเซอร์ซึ่งจะช่วยให้สามารถใช้งาน Google ได้โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปที่หน้าโฮมเพจของ Google ก่อน ปัจจุบัน Google Toolbar ถูกพัฒนา ขึ้นมาถึงเวอร์ชันที่ 2 แล้ว ข้อดีของ Google Toolbar คือความสามารถพิเศษในการแสดงระดับความนิยม (Page Rank) ของหน้าอินเทอร์เน็ตหน้าต่างๆ ที่คุณกำลังเปิดใช้งานอยู่ในขณะ นั้นหรือหากคุณไม่ต้องการก็สามารถติดตั้งทูลบาร์ดังกล่าวโดยไม่ติดตั้ง Page Rank Bar ลงไปด้วยก็ได้ ซึ่งทูลบาร์ที่ว่านี้สามารถทำงานได้เฉพาะใน Internet Explorer 5.0 ขึ้นไปเท่านั้น แต่ หากคุณใช้ Netscape หรือ Internet Explorer เวอร์ชันก่อนหน้านี้คุณก็สามารถติดตั้ง Browser Button ของ Google ซึ่งจะมีฟังก์ชันบางตัวของ Google Toolbar อยู่เข้าไปในบราวเซอร์เพื่อใช้แทน ได้(www.google.com/options/buttons.html) และพิเศษสำหรับผู้ใช้เว็บบราวเซอร์ Mozilla โดยเฉพาะ ในหน้าอินเทอร์เน็ตเว็บไซต์ http://google barl10n.mozdev.org/installation.html คุณสามารถพบกับทูลบาร์ของ Google ที่มีชื่อเรียกว่า Googlebar ซึ่งถูกสร้างมาเป็นพิเศษสำหรับใช้กับ Mozilla โดยเฉพาะด้วย
6. ใช้ Google ช่วยในการคำนวณ
นอกเหนือจากเป็น เสิร์ชเอนจินแล้ว Google ยังกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของเครื่องคิดเลขที่คุณเคยใช้งานอีกด้วย สิ่งหนึ่งที่ไม่ค่อยมีใครรู้ คือ ฟังก์ชันในการคำนวณของ Google จะช่วยในการค้นหาผลลัพธ์ของสมการทางคณิตศาสตร์ให้ด้วย หากคุณพิมพ์โจทย์ปัญหา เช่น 365+12*8 ลงในช่องสำหรับการป้อนข้อมูลการค้นหาตามปกติแล้วเริ่มทำการค้นหาคุณจะได้ ผลลัพธ์เท่ากับ 461 แทนที่จะได้รายการแสดงหน้าอินเทอร์เน็ตที่ค้นพบ นอกจากสมการง่ายๆ ดังกล่าว Google ยังสามารถคำนวณสมการที่ซับซ้อนยิ่งกว่านั้นได้อีกด้วย เช่น การพิมพ์คำ ว่า sqr จะเป็นการคำนวณค่ารากที่สองของเลขที่อยู่ถัดมา หรือเมื่อคุณต้องการคำนวณค่า 252 (25 ยกกำลัง 2) ก็สามารถทำได้โดยพิมพ์ว่า 25^2 ลงไป แม้กระทั่งฟังก์ชันตรีโกณมิติก็สามารถคำนวณได้โดยใช้ตัวย่อ sin, cos และ tan หรือการคำนวณฟังก์ชันลอกการิทึมโดยใช้เครื่องหมาย ln, lg และ lb ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติและความสามารถของ Google Calculator นี้คุณสามารถดู ได้ที่หน้า http://www.google.com/help/calculator.html
นอกจากนี้แล้วการได้ลองเล่นเองก็น่าสนุกอยู่ไม่น้อย ดังเช่นที่ทีมงานได้ค้นพบบางสิ่งที่ ยังไม่ได้มีการบันทึกไว้ในหน้าเว็บไซต์ดังกล่าว คือ Google รู้จักค่าคงที่ทางคณิตศาสตร์และฟิสิกส์หลายต่อหลายตัว เช่น ค่าพาย (ฆ), ค่าความเร็วแสง (c), ค่าความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงโลก (G) และอื่นๆ อีกมาก หากคุณใส่สัญลักษณ์สากลของค่าคงที่ลงไป Google จะแสดงค่าดังกล่าวออกมาเป็นตัวเลข แต่คุณก็สามารถใช้ค่าคงที่ในสมการต่างๆ ได้เช่นกัน นอกเหนือไปจากการคำนวณที่ยุ่งยากซับซ้อน Google ก็สามารถแสดงการคำนวณพื้นฐาน ในเรื่องการเปลี่ยนหน่วยให้คุณได้ เช่น เปลี่ยนหน่วยไมล์ (Miles) หรือนิ้ว (Inches) เป็นกิโลเมตร, เมตรหรือเซนติเมตร หรือเปลี่ยนจากแคลอรีเป็นกิโลจูล หรือจากกิโลกรัมเป็นปอนด์ก็ได้เช่นเดียวกัน เพียงแค่คุณพิมพ์ง่ายๆ ดังเช่นว่า "25 miles in kilometer" หรือ "50 pounds in kilogram" ซึ่งการคำนวณดังที่กล่าวมาแล้วนี้สามารถทำ ได้ในหน้าเว็บไซต์ของ Google ทุกๆ หน้า เพียงแต่คุณต้องพิมพ์ข้อความทั้งหมดในรูปแบบของภาษาอังกฤษ
7. ชอปปิ้งด้วย Google : Froogle
Google มีบริการพิเศษสำหรับนักชอปออนไลน์โดยเฉพาะ ซึ่งเรียกบริการนี้กันว่า Froogle ซึ่งเป็นการนำคำว่า Google มาผสมกับคำว่า �FrugalŽ ซึ่งแปลว่าประหยัด โดยเครือข่ายของ Froogle จะมีความสามารถในการค้นหาสินค้าต่างๆ ในร้านค้าออนไลน์โดยเฉพาะ (http://froogle.goo gle.com) การค้นหาสามารถทำได้โดยใส่ชื่อผลิตภัณฑ์ที่คุณต้องการโดยตรง (เช่น "Panasonic DVD S75") หรือหากคุณยังไม่ได้ตัดสินใจชี้ชัดลงไป ก็สามารถดูไปเรื่อยๆ และทำการค้นหาใน แคตาล็อกของแต่ละกลุ่มสินค้า เช่น "Art & Entertainment", "Home & Garden" หรือ "Toys & Games" และคุณสามารถเรียงผลการค้นหาที่ได้จากทั้งสองวิธีนี้ตามราคา หรือเรียงเว็บไซต์ตามจำนวนสินค้าที่เสนอ แต่ปัจจุบัน Froogle ยังคงอยู่เพียงแค่ช่วงเวอร์ชัน Beta ของการพัฒนาเท่านั้น อีกทั้งยังมีเฉพาะเวอร์ชันภาษาอังกฤษเท่านั้น ยกเว้นผลการค้นหาที่เป็นสากลนั่น คือ Fro ogle สามารถหาหน้าเว็บไซต์ที่ให้บริการดังกล่าวได้ทั่วโลกเหมือนการ Search ทั่วไป
8. ตรวจสอบราคาหุ้น
Google.com สามารถแสดงให้คุณทราบถึงสถานภาพของหุ้นต่างๆ ที่คุณต้องการทราบได้ โดยมีข้อแม้เพียงข้อเดียวคือ หุ้นของบริษัทดังกล่าวต้อง อยู่ในตลาดหุ้นของอเมริกาวิธีการก็คือ ให้คุณใส่ชื่อของบริษัทที่คุณต้องการสำรวจราคาหุ้นลงในช่องสำหรับป้อนข้อมูล การค้นหา เช่น หากคุณพิมพ์คำว่า Microsoft ลงไป Google จะแสดงที่บรรทัดสุดท้ายของผลการค้นหาว่า "Stock Quotes: MSFT" เมื่อคุณคลิกที่บรรทัดดังกล่าว จะเป็นการนำคุณไปสู่หน้า Yahoo Finance Site ซึ่งมีข้อมูลหุ้นขณะปัจจุบันของไมโครซอฟท์แสดงอยู่ หรือในกรณีที่คุณรู้ชื่อย่อของแต่ละบริษัท (เช่น Microsoft ใช้ MSFT) ก็เพียงพอเพราะคุณสามารถเลือกที่สัญลักษณ์ "Stock Quote" ซึ่งอยู่บริเวณด้านบนของรายการต่างๆ ได้โดยตรง เพื่อนำคุณเข้าไปสู่หน้า Yahoo-Finance ได้เช่นเดียวกัน
9. คำตอบจาก Google
มีไม่กี่ครั้งที่ Google ไม่สามารถค้นหาข้อมูลให้คุณได้ตามต้องการ แต่บ่อยครั้งที่ข้อมูลที่ได้ไม่ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของคุณ นั่นก็เพราะว่า Google เป็นเพียงแค่เครื่องจักรธรรมดาเท่านั้น ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าข้อมูลใดคือ ข้อมูลที่คุณต้องการ ดังนั้นจึงได้มีการออกแบบเครื่องจักรมีชีวิตขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาที่เกิด ขึ้น ซึ่งถูกเรียกว่า Human Search Machine โดยคุณสามารถใช้บริการนี้ได้ที่หน้า http://answers. google.com ซึ่งมีวิธีดำเนินการคือ หากคุณมีคำถามซึ่งคุณพร้อมที่จะจ่ายเงินเป็นค่าคำตอบตั้งแต่ 2 ถึง 200 ดอลล่าร์สหรัฐอเมริกาแล้ว ให้เรียบเรียงคำถามของคุณและรอให้ Google หาผู้เชี่ยวชาญที่สามารถตอบคำถามของคุณได้ เมื่อคุณได้รับคำตอบคุณก็จะถูกเก็บเงินตามราคาที่คุณได้ตั้งเอาไว้ ในการใช้บริการดังกล่าว จำเป็นที่คุณจะต้องลงทะเบียนด้วยอีเมล์ของคุณ ส่วนการจ่ายค่าบริการจะต้องจ่ายผ่านทางบัตรเครดิต จุดเด่นของบริการนี้คือคำถามทั้งหมดที่ถูกตอบไปเรียบร้อยแล้วจะถูกเก็บเอาไว้ ซึ่งสมาชิกที่ลงทะเบียนทั้งหมดจะสามารถดูคำตอบเหล่านี้ได้โดยไม่ต้องเสีย เงินซ้ำอีก ถ้าคุณโชคดีอาจจะมีคำตอบอื่นที่คุณต้องการรวมอยู่ในนั้นด้วยก็ได้

การค้นหาข้อมูลขั้นสูงมีวิธีการอย่างไร
การค้นหาขั้นสูงตัวเลือกให้ผู้ใช้ใน Google ตัวเลือกเพื่อขอรับเฉพาะและเน้นผลลัพธ์การค้นหา. Heres วิธีคุณลักษณะนี้สามารถใช้.
1. เข้าถึงหน้าค้นหาขั้นสูงโดยการคลิกที่ลิงค์การค้นหาขั้นสูงของ Google ข้างช่องค้นหาในหน้าแรกที่ www. กูเกิล. com หรือ.
2. กรอกที่ตรงกัน blanks และทำการเลือกที่เกี่ยวข้องในหน้าเว็บเพื่อหาผลลัพธ์ที่ต้องการ.
3. ใช้ขั้นสูงประกอบที่ต้อง. บริการระบบขั้นสูงเป็นตั้งค่าการค้นหาข้อกำหนดที่ช่วยผู้ใช้รับแม่นยำผลลัพธ์.
4. เข้าใจประเภทอื่นค้นหาขั้นสูงในบริการระบบ. แคชประกอบการช่วยให้คุณสามารถรวมคำหลักเพื่อค้นหาภายในแคชเอกสาร. การค้นหาคีย์ควรแคช: www. nameofthesite. com หรือคำหลัก. ผลลัพธ์ที่จะแสดงแคชเอกสารภายใน www. nameofthesite. com หรือกับคำหลักเน้นทุก. หรือคุณสามารถเพียงคลิกลิงก์ในแคชหลักหน้าผลลัพธ์การค้นหา.
5. เข้าใจที่ลิงค์ในการดำเนินการอื่นสืบค้นประเภท. ซึ่งช่วยให้คุณสามารถค้นหาทุกเว็บเพจที่เชื่อมโยงถึงเฉพาะเว็บเพจ. การค้นหาคีย์ควรลิงก์: www. nameofthesite. com หรือ. หรือมิฉะนั้นคุณสามารถใช้ฟังก์ชันนี้จากหน้าค้นหาขั้นสูง> เพจเฉพาะการค้นหา> ลิงค์.
6. เข้าใจที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการอื่นสืบค้นประเภท. ซึ่งช่วยให้คุณสามารถค้นหาทุกเว็บเพจที่มีลักษณะที่คล้ายกับเว็บเพจที่คุณป้อน. การค้นหาคีย์ควรที่เกี่ยวข้อง: www. nameofthesite. com หรือ. หรือมิฉะนั้นคุณสามารถใช้ฟังก์ชันนี้ทั้งโดยคลิกที่ลิงค์ในหน้าที่คล้ายกันที่หน้าหลักหรือจากหน้าค้นหาขั้นสูง> เพจเฉพาะการค้นหา> คล้ายกัน.
7. เข้าใจข้อมูลประกอบการค้นหาอื่นในประเภท. ซึ่งช่วยให้คุณสามารถค้นหาข้อมูลที่ระบุหน้าเว็บ. การค้นหาคีย์ควรข้อมูล: www. nameofthesite. com หรือ. หรือคุณสามารถเข้าถึงคุณลักษณะนี้โดยพิมพ์ใน URL โดยตรงไปยังช่องค้นหา.
8. เข้าใจในการดำเนินการกำหนดข้อมูลอื่นๆที่ต้องการ. ซึ่งช่วยให้คุณได้รับการข้อกำหนดสำหรับการค้นหาคำหลัก. การค้นหาคีย์ควรกำหนด: โลกร้อน.
9. เข้าใจหุ้นในการดำเนินการข้อมูลอื่นๆที่ต้องการ. เมื่อป้อนหุ้นผู, คำสำคัญของคุณจะได้รับการปฏิบัติตามราคาหุ้นสัญลักษณ์. การค้นหาคีย์หุ้น: WMT จะผลผลิตข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตลาด Wal-หุ้น. หรือคุณสามารถพิมพ์ในเครื่องพิมพ์ราคาหุ้นอัตโนมัติสัญลักษณ์ในกล่องค้นหาและคลิกที่แสดงราคาหุ้นตัวเลือก.
10. เข้าใจเว็บไซต์ที่ดำเนินการค้นหาในตัวปรับเปลี่ยน. การใช้ตัวเลือกนี้คุณสามารถจำกัดการค้นหาของคุณเพื่อที่ระบุโดเมน. การค้นหาคีย์ควรกีฬาเว็บไซต์: www. nameofthesite. com หรือ. ถ้าคุณต้องการค้นหาคำหลักของคุณจากทุกที่มีเว็บไซต์เฉพาะส่วนขยายการค้นหาคีย์ควรอ่านกีฬาเว็บไซต์: สุทธิ.
11. เข้าใจ allintitle ดำเนินงานในการค้นหาปรับเปลี่ยน. ใช้คำหลัก preceded โดย allintitle ผลประกอบการจะอยู่ในหน้าที่มีคำหลักในชื่อ. คีย์การค้นหาควร allintitle: ข่าวกีฬา.
12. เข้าใจ intitle ดำเนินงานในการค้นหาปรับเปลี่ยน. หากคุณป้อนการค้นหาคีย์ intitle: ข่าวกีฬาผลลัพธ์จะแสดงหน้าเว็บที่มีกีฬาในชื่อและข่าวอื่นใดก็ได้ในเอกสาร. คุณสามารถใช้ intitle ผูทุกคำหลักในการค้นหาของคุณเพื่อเรียกคล้ายคลึงผลลัพธ์ที่ allintitle ผู.
13. เข้าใจ allinurl ดำเนินงานในการค้นหาปรับเปลี่ยน. หากคุณป้อนการค้นหาคีย์ allinurl: กีฬา, จะแสดงผลลัพธ์ที่มีคำหลักกีฬาอยู่ใน URL. หรือคุณสามารถเข้าถึงฟังก์ชันนี้จากหน้าค้นหาขั้นสูง> ที่ปรากฏ.
14. เข้าใจ inurl ดำเนินงานในการค้นหาปรับเปลี่ยน. หากคุณป้อนการค้นหาคีย์ inurl: ข่าวกีฬาจะแสดงผลลัพธ์ที่มีคำหลักกีฬาจะปัจจุบันใน URL และคำหลักข่าวจะปัจจุบันทุกที่ในเอกสาร. คุณสามารถใช้ inurl ผูทุกคำหลักที่คล้ายกันเพื่อเรียกผลลัพธ์ที่ allinurl ผู.
15. เข้าใจ + ค้นหา. ระหว่างการค้นหาของ Google ignores คำทั่วไปเช่นฉันและเพื่อเพิ่มความเร็วการค้นหา. หากคุณต้องการคำดังกล่าวรวมอยู่ในการค้นหาใช้ + ลงชื่อ. การค้นหาคีย์ควรบอกฉัน + วิธี.
16. เข้าใจไวพจน์ค้นหา. นี้ broadens การค้นหาที่คำพ้องของคำหลัก. คีย์การค้นหาควร ~ สุขภาพ.
17. เข้าใจหรือค้นหา. หากคุณต้องการผลลัพธ์ที่มีทั้งในสองระบุคำหลักที่แยกจากกันสองคำหลักที่มีหรือ. การค้นหาคีย์ควรฟุตบอลเทนนิสหรือ.
18. เข้าใจโดเมนค้นหา. ถ้าคุณต้องการค้นหาสำหรับคำหลักเฉพาะภายในโดเมนป้อนคำหลักตามด้วยคำเว็บไซต์และเครื่องหมายตามด้วยชื่อโดเมน. การค้นหาคีย์ควรเบสบอลเว็บไซต์: www. espnstar. com หรือ.
19. เข้าใจ Numrange ค้นหา. คุณสามารถใช้ดำเนินการนี้เพื่อค้นหาข้อมูลที่มีหมายเลขที่ระบุภายในช่วง. นี้สามารถใช้เพื่อค้นหาใดๆหน่วยของการวัดมันเป็นสกุลเงินน้ำหนักไกลหรือ. เพียงแค่ใส่ตัวเลขสองพร้อมกับการหน่วยคั่นด้วยสองช่วง. คีย์การค้นหาควรเบสบอล 1990. . 2000 เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเบสบอลปีระหว่าง 1990 และ 2000.
20. เข้าใจอื่นๆเพิ่มเติม Advanced Search การคุณสมบัติซึ่งรวมถึงท้องถิ่น Google ภาษาเทคโนโลยีการค้นหาวันที่ที่ปรากฏ, โดเมนและ SafeSearch.
ที่มา : http://www.searchgrid.org/index.php?lang=th&cat=506&month=2009-08&id=3041

Webที่ใช้ค้นหาข้อมูล นอกจาก google แล้วมีอะไรอีก บอกชื่อ Web
เว็บไซต์เพื่อการค้นหาข้อมูล
1. www.yahoo.com เว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลในการค้นหาอย่างมากมายและผู้ใช้มากถึง 200,000 คนต่อวัน
2. www.looksmart.com เว็บไซต์ที่เก็บรายชื่อของเว็บไซต์ต่างๆ ไว้มากมาย 1,000,000 เว็บไซต์
3. www.snap.com เว็บไซต์ที่มีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา
4. www.sanook.com เว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูล เว็บไซต์ยอดนิยมของไทย
5. www.108-109.com เว็บไซต์ที่มากกว่า 4,000 ลิงค์ และยังมีชื่อที่อยู่เบอร์ icq ในประเทศ
6. www.pattayadirectory.com เว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัทยาได้ครบที่สุด
7. www.siaminside.com เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่โดยเฉพาะ
8. www.thaiall.com เว็บไซต์ที่มีอยู่มากมาย บริการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรม
9. www.thaitop.com หนึ่งในเว็บไซต์เพื่อการค้นหาข้อมูลตามหวมดหมู่ที่สมบูรณ์ของไทย
10. www.i-kool.com เว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลที่สมบูรณ์อีกเว็บหนึ่งของไทย
เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลแบบเครื่องจักรค้นหา Search Enging ได้แก่
1 www.altavista.com เครื่องจักรค้นหายอดนิยม อันดับต้นๆ
2 www.Excite.com การหาข้อมูล ข้อความที่หาความสัมพันธ์กับกลุ่มข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
3 www.infoseek.com เว็บไซต์เพื่อค้นหาข้อมูลที่มีรายละเอียดของเว็บต่างๆ ถึง 30 ล้านเว็บไซต์
4 www.lycos.com เครื่องจักรค้นหาที่ได้รับความนิยมเท่ากับ yahoo.com
5www.hotbot.com เว็บไซต์ที่มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่
6 www.thaiseek.com เครื่องจักรค้นหาและรวมไดเร็คทรอรี่ของไทย
7 www.madoo.com/search/ เว็บไซต์ที่รวบรวมเว็บไซต์ที่เป็น Search Enging เอาไว้
8 www.siamguru.com เว็บไซต์ใหม่ที่กำลังมาแรง ในการค้นหาแบบ เครื่องจักรค้นหา
9 www.asialycos.co.th เว็บไซต์เครื่องจักรค้นหาที่ทำเพื่อคนไทยโดยเฉพาะ


ให้กำหนดหมวดหมู่ในการค้นหาโดยใช้ google
ประโยชน์ของ Google ในการบริการ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มได้ 3 กลุ่ม โดยแบ่งออกตามความสามารถในการทำงานในด้านต่างๆ ดังนี้

1. บริการในกลุ่มดัชนีค้นหา(Search Engines) Google Web Search Features ประกอบด้วยบริการค้นหาต่อไปนี้
Book Search : บริการค้นหาหนังสือแบบออนไลน์ ซึ่งเป็นบริการใหม่ของ Google ที่เพิ่งเปิดให้บริการกับแฟนหนังสือโดยเฉพาะ
Cached Links : บริการช่วยจับประเด็นหรือหัวเรื่องสำคัญของเว็บไซต์ที่คุณต้องการจะค้นหา
Calculator : เครื่องคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่คุณสามารถตั้งตัวเลข โดยคีย์ลงในช่องค้นหาของ Google แล้วคลิ้กหาคำตอบที่ต้องการได้เลย
Currency Conversion : บริการแปลงหน่วยมาตราเงินสำหรับระบบแลกเปลี่ยนเงินตรา
Definitions : หมวดคำศัพท์ที่คุณสามารถค้นหาความหมายของคำศัพท์ที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย
File Types : ดัชนีค้นหาสินค้าออนไลน์ทั่วทุกมุมโลก
Groups : ถ้าหากว่าคุณอยากรู้ข้อมูลข่าวสารที่มีคนโพสต์กันบนเว็บไซต์ สามารถค้นหาได้จากบริการนี้
I ‘m Feeling Lucky : ปุ่มบริการดัชนีค้นหาที่ช่วยให้ค้นหาเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว และตรงประเด็น โดยข้ามลิงก์ของเว็บไซต์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ถูกตัดออกไป
Images : ระบบดัชนีค้นหารูปภาพที่คลิกได้ง่าย และเร็วทันใจ
Local Search : บริการค้นหาธุรกิจและบริการต่าง ๆ ที่เปิดในสหรัฐ อังกฤษ และแคนาดา
Movie : คุณสามารถเข้าไปดูรีวิวภาพยนตร์หรือว่าตารางโปรแกรมฉายแบบเรียลไทม์ได้จากฟีเจอร์นี้
Music Search : ดัชนีค้นหาเพลงหรือว่าดนตรีที่มีให้บริการฟังเพลงออนไลน์หรือว่าดาวน์โหลดเพลงจากทั่วโลก
News Headlines : บริการที่ทำให้คุณสารารถรู้ข้อมูลข่าวสารทันในที่ส่งมาจากรอบโลกแบบเรียลไทม์
PhoneBook : บริการค้นหาเบอร์โทรศัพท์และเลขที่บนท้องถนนของสหรัฐอเมริกา
Q&A : บริการใหม่ที่คุณอยากรู้อะไรเกี่ยวกับ Google บริการนี้ตอบปัญหาให้คุณได้ทุกเรื่อง
Similar Pages : บริการแสดงหน้าเว็บเพจที่แสดงผลในหน้าเว็บที่เกี่ยวข้อง
Site Search : กำหนดขอบเขตของการค้นหาเว็บไซต์ให้แคบลง
Spell Checker : เครื่องมือช่วยในการสะกดคำ
Stock Quotes : ดัชนีค้นหาสำหรับราคาหุ้นแบบเรียลไทม์
Travel Information : บริการตรวจสอบสายการบินในสหรัฐ รวมถึงรายงานสภาพอากาศของสนามบิน
Weather : บริการตรวจสอบสภาพอากาศและการพยากรณ์อากาศในทุกรัฐของสหรัฐ
Web Page Translation : บริการแปลหน้าเอกสารภาษาอังกฤษเป็นภาษาอื่น ๆ

2. บริการในกลุ่ม Google Services
Alerts : Answer : บริการแจ้งเตือนข่าวสารและผลการค้นหาผ่านอีเมล์แบบออนไลน์ บริการตอบคำถามให้กับคุณได้ทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ โดยนักวิจัยชื่อดังกว่า 500 คน
Blog Search : บริการค้นหาหัวข้อเรื่องที่เป็น Blog Catalogs :ในประเด็นที่คุณสนใจ บริการค้นหารายการสินค้าที่คุณสนใจและต้องการจะสั่งซื้อผ่านระบบออนไลน์
Directory : บริการค้นหาสาระสำคัญต่าง ๆ ที่อยู่บนเว็บไซต์
Labs : บริการใหม่ ๆ ของ Google ที่คุณสามารถเข้าไปทดสอบใช้งานได้ฟรี ก่อนที่จะออกมาเป็นชุดเต็มของโปรแกรม
Mobile : บริการหลักของ Google ที่สามารถนำไปใช้ได้กับเครื่องโทรศัพท์มือถือ เช่น บริการดัชนีค้นหาเอกสาร รูปภาพ หรือส่ง SMS
News : บริการรายงานข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ จากทั่วทุกมุมโลกที่มีให้คุณได้อ่านก่อนใคร
Scholar : บริการค้นหาเอกสารงานวิจัยใหม่ ๆ รวมทั้งบทคัดย่อจากห้องสมุดใหญ่ ๆ มากมาย
Special Searches : บริการค้นหาประเด็นสาธารณะในส่วนที่เป็นองค์กร หรือว่าสถาบันที่ไม่หวังผลกำไรต่างๆ รวมถึงบริการค้นหาเว็บไซต์ของสถานศึกษาต่าง ๆ ที่มีรายละเอียดในเรื่องของหลักสูตรการสอนและระเบียบวิธีการเข้าศึกษาต่อทั้งในระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย
Video : บริการค้นหารายการทีวีทางโทรทัศน์ เกมโชว์ มิวสิควิดีโอ ที่คุณสามารถเช่าชั่วโมงมาดูกันแบบออนไลน์ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของคุณ

3. บริการในกลุ่ม Google Tools
Blogger : เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือสำหรับสร้าง Blogger ของคุณเอง
Code : เครื่องมือสำหรับดาวน์โหลด APls และ Source code
Desktop : เครื่องมือสำหรับช่วยค้นหาไฟล์และข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
Earth : เครื่องมือที่ทำให้คุณสามารถค้นหาแผนที่โลกจากดาวเทียม
Gmail : บริการอีเมล์รุ่นทดสอบของ Google ที่มีความจุกว่า 2.6 กิกะไบต์
Pack : ชุดเครื่องมือรวมฮิตของ Google รวมถึงบราวเซอร์สุดเก่ง Firetox Picasa : เครื่องมือสำหรับการบริหารและจัดการรูปภาพทั้งหมดที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์
Local for Mobile : เครื่องมือสำหรับค้นหาแผนที่ของสถานที่ต่าง ๆ บนโทรศัพท์มือถือ
Talk : เครื่องมือที่ทำให้คุณสามารถพูดคุย ส่งอีเมล์กับเพื่อนของคุณแบบเรียลไทม์ออนไลน์
Toobar : กล่องเครื่องมือที่ทำให้เว็บไซต์ของคุณสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลได้โดยตรง โดยไม่ต้องเข้าไปที่เว็บไซต์ของ Google
Translate : เครื่องมือที่ทำให้คุณสามารถดูเว็บไซต์ได้หลาย ๆ ภาษา
Labs : กลุ่มของชุดเครื่องมือใหม่ ๆ ของ Google ที่คุณสามารถเข้าไปทดลองดาวน์โหลดได้ฟรี
ที่มา:http://learners.in.th/blog/meaw-3/116386


นางสาวศศิธร ช่วยสงค์
รหัส 5246701009
ประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา

วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การจัดการความรู้

การจัดการความรู้คืออะไร

การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ

1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม

2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

นพ.วิจารณ์ พานิช ได้ให้ความหมายของคำว่า การจัดการความรู้ไว้ คือ สำหรับนักปฏิบัติ การจัดการความรู้คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่

1. บรรลุเป้าหมายของงาน

2. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน

3. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ

4. บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน

การจัดการความรู้เป็นการดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการต่อความรู้ ได้แก่

(1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร

(2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ

(3) การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งานของตน

(4) การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน

(5) การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัดขุมความรู้ออกมาบันทึกไว้

(6) การจดบันทึกขุมความรู้และ แก่นความรู้สำหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น

โดยที่การดำเนินการ 6 ประการนี้บูรณาการเป็นเนื้อเดียวกัน ความรู้ที่เกี่ยวข้องเป็นทั้งความรู้ที่ชัดแจ้ง อยู่ในรูปของตัวหนังสือหรือรหัสอย่างอื่นที่เข้าใจได้ทั่วไป (Explicit Knowledge) และความรู้ฝังลึกอยู่ในสมอง (Tacit Knowledge) ที่อยู่ในคน ทั้งที่อยู่ในใจ (ความเชื่อ ค่านิยม) อยู่ในสมอง (เหตุผล) และอยู่ในมือ และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย (ทักษะในการปฏิบัติ) การจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่คนจำนวนหนึ่งทำร่วมกันไม่ใช่กิจกรรมที่ทำโดยคนคนเดียว เนื่องจากเชื่อว่า จัดการความรู้จึงมีคนเข้าใจผิด เริ่มดำเนินการโดยรี่เข้าไปที่ความรู้ คือ เริ่มที่ความรู้ นี่คือความผิดพลาดที่พบบ่อยมาก การจัดการความรู้ที่ถูกต้องจะต้องเริ่มที่งานหรือเป้าหมายของงาน เป้าหมายของงานที่สำคัญ คือ การบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ ที่เรียกว่า Operation Effectiveness และนิยามผลสัมฤทธิ์ ออกเป็น 4 ส่วน คือ

(1) การสนองตอบ (Responsiveness) ซึ่งรวมทั้งการสนองตอบความต้องการของลูกค้า สนองตอบความต้องการของเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น สนองตอบความต้องการของพนักงาน และสนองตอบความต้องการของสังคมส่วนรวม

(2) การมีนวัตกรรม (Innovation) ทั้งที่เป็นนวัตกรรมในการทำงาน และนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการ

(3) ขีดความสามารถ (Competency) ขององค์กร และของบุคลากรที่พัฒนาขึ้น ซึ่งสะท้อนสภาพการเรียนรู้ขององค์กร และ

(4) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ซึ่งหมายถึงสัดส่วนระหว่างผลลัพธ์ กับต้นทุนที่ลงไป การทำงานที่ประสิทธิภาพสูง หมายถึง การทำงานที่ลงทุนลงแรงน้อย แต่ได้ผลมากหรือคุณภาพสูง เป้าหมายสุดท้ายของการจัดการความรู้ คือ การที่กลุ่มคนที่ดำเนินการจัดการความรู้ร่วมกัน มีชุดความรู้ของตนเอง ที่ร่วมกันสร้างเอง สำหรับใช้งานของตน คนเหล่านี้จะสร้างความรู้ขึ้นใช้เองอยู่ตลอดเวลา โดยที่การสร้างนั้นเป็นการสร้างเพียงบางส่วน เป็นการสร้างผ่านการทดลองเอาความรู้จากภายนอกมาปรับปรุงให้เหมาะต่อสภาพของตน และทดลองใช้งาน จัดการความรู้ไม่ใช่กิจกรรมที่ดำเนินการเฉพาะหรือเกี่ยวกับเรื่องความรู้ แต่เป็นกิจกรรมที่แทรก/แฝง หรือในภาษาวิชาการเรียกว่า บูรณาการอยู่กับทุกกิจกรรมของการทำงาน และที่สำคัญตัวการจัดการความรู้เองก็ต้องการการจัดการด้วย

ตั้งเป้าหมายการจัดการความรู้เพื่อพัฒนา

งาน พัฒนางาน

คน พัฒนาคน

องค์กร เป็นองค์กรการเรียนรู้

ความเป็นชุมชนในที่ทำงาน การจัดการความรู้จึงไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง นี่คือ หลุมพรางข้อที่ 1 ของการจัดการความรู้ เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิด เอาการจัดการความรู้เป็นเป้าหมาย ความผิดพลาดก็เริ่มเดินเข้ามา อันตรายที่จะเกิดตามมาคือ การจัดการความรู้เทียม หรือ ปลอม เป็นการดำเนินการเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้ การริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ แรงจูงใจ การริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้เป็นก้าวแรก ถ้าก้าวถูกทิศทาง ถูกวิธี ก็มีโอกาสสำเร็จสูง แต่ถ้าก้าวผิด ก็จะเดินไปสู่ความล้มเหลว ตัวกำหนดที่สำคัญคือแรงจูงใจในการริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้

การจัดการความรู้ที่ดีเริ่มด้วย

สัมมาทิฐิ : ใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุความสำเร็จและความมั่นคงในระยะยาว

การจัดทีมริเริ่มดำเนินการ

การฝึกอบรมโดยการปฏิบัติจริง และดำเนินการต่อเนื่อง

การจัดการระบบการจัดการความรู้

แรงจูงใจในการริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ แรงจูงใจแท้ต่อการดำเนินการจัดการความรู้ คือ เป้าหมายที่งาน คน องค์กร และความเป็นชุมชนในที่ทำงานดังกล่าวแล้ว เป็นเงื่อนไขสำคัญ ในระดับที่เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จในการจัดการความรู้ แรงจูงใจเทียมจะนำไปสู่การดำเนินการจัดการความรู้แบบเทียม และไปสู่ความล้มเหลวของการจัดการความรู้ในที่สุด แรงจูงใจเทียมต่อการดำเนินการจัดการความรู้ในสังคมไทย มีมากมายหลายแบบ ที่พบบ่อยที่สุด คือ ทำเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่าทำ ทำเพราะถูกบังคับตามข้อกำหนด ทำตามแฟชั่นแต่ไม่เข้าใจความหมาย และวิธีการดำเนินการ จัดการความรู้อย่างแท้จริง

องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ (Knowledge Process)

1. “คนถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์

2.“เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น

3. “กระบวนการความรู้นั้น เป็นการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง และนวัตกรรม

องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ จะต้องเชื่อมโยงและบูรณาการอย่างสมดุล การจัดการความรู้ของกรมการปกครอง จากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 กำหนดให้ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมะสมต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน ขอบเขต KM ที่ได้มีการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความสำคัญเร่งด่วนในขณะนี้ คือ การจัดการองค์ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ และได้กำหนดเป้าหมาย (Desired State) ของ KM ที่จะดำเนินการในปี 2549 คือมุ่งเน้นให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในพื้นที่ที่เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีหน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม คือ อำเภอ/กิ่งอำเภอ มีข้อมูลผลสำเร็จ การแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในศูนย์ปฏิบัติการฯ ไม่น้อยกว่าศูนย์ละ 1 เรื่อง และเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผล ได้จัดให้มีกิจกรรมกระบวนการจัดการความรู้ (KM Process) และกิจกรรมกระบวนการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process) ควบคู่กันไป โดยมีความคาดหวังว่าแผนการจัดการความรู้นี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญสู่การปฏิบัติราชการในขอบเขต KM และเป้าหมาย KM ในเรื่องอื่น ๆ และนำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืนต่อไป

กระบวนการจัดการความรู้

กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ

1. การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร

2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว

3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต

4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์

5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge จัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น

7. การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

http://www.dopa.go.th/iad/km/km_des.html

แหล่งข้อมูลแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ
1. แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจจะได้จาก การสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ และการจดบันทึก ตลอดจนการจัดหามาด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ เช่น เครื่องอ่านรหัสแท่ง (บาร์โด้ด : Barcode) เครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก

2. แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) หมายถึง ข้อมูลที่มีการรวบรวมไว้เรียบร้อยแล้ว บางครั้งอาจมีการประมวลผลเป็นสารสนเทศ แล้ว เช่น สถิติการนำเข้าและส่งออกสินค้า เป็นต้น

http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/tech02/08/2/webit/p5.html

ความหมายของเครือข่าย
เครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network)
หมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ และการเรียนรู้ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม
แนวความคิด
การเรียนรู้เป็นกระบบวนการที่ผู้เรียนต้องเป็นผู้จัดกระทำต่อสิ่งเร้าหรือสาระการเรียนรู้ มิใช่เพียงรับสิ่งเร้าหรือสาระเข้ามาเท่านั้น ผู้เรียนต้องเป็นผู้สร้างความมายของสิ่งเร้า หรือข้อความความรู้ ที่รับเข้ามาด้วยตนเอง กระบวนการสร้างความหมายของสิ่งเร้าที่รับเข้ามาที่เป็นประสบการณ์เฉพาะตน (Personal experience) ซึ่งมีความแตกต่างกันและมีกระบวนการคิดที่แตกต่างกัน ดังนั้น การเรียนรู้ของบุคคลจึงเป็นกระบวนการที่แต่ละบุคคลต้องดำเนินการเอง เพราะกระบวนการสร้างความหมายเป็นกระบวนการเฉพาะตน
หลักสำคัญของเครือข่ายการเรียนรู้
การเรียนรู้ตลอดชีวิตควรเริ่มจากการมีส่วนร่วมของบุคคล องค์กรและชุมชนในการตระหนักถึงปัญหาและการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการสร้างเสริมประสบการณ์ การถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน จนทำให้เกิดการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้สรุปหลักการสำคัญของเครือข่ายการเรียนรู้ไว้ ดังนี้
๑. การกระตุ้นความคิด ความใฝ่แสวงหาความรู้ จิตสำนึกในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมในการพัฒนา
๒. การถ่ายทอด แลกเปลี่ยน การกระจายความรู้ทั้งในส่วนของวิทยากรสากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ
๓. การแลกเปลี่ยนข่าวสารกับหน่วยงานต่างๆ ของทั้งในภาครัฐและเอกชน
๔. การระดมและประสานการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อการพัฒนาและลดความซ้ำซ้อน สูญเปล่าให้มากที่สุด
การเรียนรู้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์มากขึ้นสำหรับบุคคลและความเจริญของชาติ ด้วยการเรียนรู้เป็นสื่อเชื่อมโยงกับข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้และทักษะซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ การเรียนรู้ที่ประสบความสำเร็จก็คือ การที่แต่ละบุคคลสามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือ ข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ที่เหมาะสม เพื่อแก้ปัญหา และแสวงหาโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่วนเครือข่ายการเรียนรู้ก็เป็นกระบวนการที่สำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต เครือข่ายเป็นระบบการเชื่อมโยงระหว่างบุคคล หน่วยงาน องค์กร สถาบันเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ทรัพยากร ตลอดจนส่งเสริมการภารกิจให้มีผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

http://www.trang.psu.ac.th/learning2teach/index.php?option=com_content&task=view&id=60&Itemid=34

สารสนเทศ หมายถึง คุณภาพของข้อความจากผู้ส่งไปหาผู้รับ สารสนเทศจะประกอบไปด้วย ขนาดและเหตุการณ์ของสารสนเทศนั้น สารสนเทศสามารถแทนข้อมูลที่มีความถูกต้องและความแม่นยำหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งข้อเท็จจริงหรือข้อโกหกหรือเป็นเพียงเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น สารสนเทศจะเกิดขึ้นเมื่อมีผู้ส่งข้อความและผู้รับข้อความอย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งคนซึ่งทำให้เกิดการสื่อสารของข้อความและเข้าใจในข้อความเกิดขึ้น ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับ ความหมาย ความรู้ คำสั่ง การสื่อสาร การแสดงออก และการกระตุ้นภายใน การส่งข้อความที่มีลักษณะเป็นสารสนเทศ ในขณะเดียวกันการบกวนการสื่อสารสารสนเทศก็ถือเป็นสารสนเทศเช่นเดียวกัน

ถึงแม้ว่าคำว่า "สารสนเทศ" และ "ข้อมูล" มีการใช้สลับกันอยู่บ้าง แต่สองคำนี้มีข้อแตกต่างที่เด่นชัดคือ ข้อมูลเป็นกลุ่มของข้อความที่ไม่ได้จัดการรูปแบบ และไม่สามารถนำมาใช้งานได้จนกว่าจะมีการจัดระเบียบและดึงออกมาใช้ในรูปแบบสารสนเทศ

http://th.wikipedia.org/

นางสาวศศิธร ช่วยสงค์ 5246701009

วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สรุปองค์ความรู้สัปดาห์ที่ 3

สรุปองค์ความรู้ สัปดาห์ที่ 3วันที่ 21 พฤศจิกายน 2552

นางสาวศศิธร ช่วยสงค์
รหัส 5246701009

การจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือในการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ- ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม- ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรมบทบาทใหม่ของการบริหารทุนมนุษย์ การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management) ต่างจากการบริหารทรัพยากรบุคคล ตรงที่เน้นความสำคัญของคุณค่าหรือมูลค่าของคนและสิ่งที่คนในองค์กรผลิตหรือสร้างขึ้นมา แต่ไม่ได้เน้นหน้าที่ด้านการบริหารงานบุคคล ดังนั้น การบริหารทุนมนุษย์จึงเกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบของกระบวนวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคล (Impact of People Management Practice) และความทุ่มเทพยายามของคนต่อความสำเร็จขององค์กร มืออาชีพหลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าการบริหารทรัพยากรบุคคลหมดความสำคัญ และอาจจะไม่จำเป็นต้องทำไป แต่อย่างไรหน้าที่ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลก็ยังคงอยู่ต่อไป แต่ต้องทำอย่างมืออาชีพมากยิ่งขึ้น และต้องมีการปรับบทบาทการบริหารทรัพยากรบุคคลเสียใหม่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปข้อมูล DATA - ข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการประเมินผล - กลุ่มของข้อมูลดิบที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานสารสนเทศ (Information ) - ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว - ผลรวมของข้อมูลที่มีความหมายความรู้ (Knowledge) ผลการขัดเกลาและเลือกใช้สารสนเทศโดยมีการจัดระบบ สร้างเป็นองค์ความรู้ความเฉลียวฉลาด (Wisdom) การนำเอาความรู้ต่างๆมาบูรณาการเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงานในสาขาวิชาต่างๆเชาว์ปัญญา (Intelligent) ผลการปรับแต่งและความจดจำความเฉลียวฉลาดต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความคิดที่ฉับไวรูปแบบการจัดการความรู้ ความรู้แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ- ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ - ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆวิธีการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้KM ไม่ทำไม่รู้ เรียนลัดและต่อยอดโมเดลปลาทู
“ โมเดลปลาทู” เป็นโมเดลอย่างง่าย ของ สคส. ที่เปรียบการจัดการความรู้ เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี ๓ ส่วน คือ1 . ส่วน “ หัวปลา” (Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า “ เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?” โดย “ หัวปลา” นี้จะต้องเป็นของ “ คุณกิจ” หรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี “ คุณเอื้อ” และ “ คุณอำนวย” คอยช่วยเหลือ2 . ส่วน “ ตัวปลา” (Knowledge Sharing-KS) เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง “ คุณอำนวย” จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ “ คุณกิจ” มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว “ คุณกิจ” พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม3 . ส่วน “ หางปลา” (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ “ คลังความรู้” หรือ “ ขุมความรู้” ที่ได้จากการเก็บสะสม “ เกร็ดความรู้” ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ ตัวปลา” ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ “ หางปลา” นี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไปKnowledge Vision Knowledge Assets Knowledge Sharing KVKSKA ส่วนหัว ส่วนตามองว่ากำลังจะไปทางไหนต้องตอบได้ว่า “ ทำ KM ไปเพื่ออะไร”
กระบวนการจัดการความรู้1. กำหนดสิ่งที่ต้องการเรียนรู้2. แสวงหาความรู้3. จัดเก็บ และศึกษาหาความรู้4. การสร้างความรู้5. การประมวลและกลั่นกรองความรู้6. การถ่ายโอนและกลั่นกรองความรู้7. การแบ่งความรู้การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้1. การจับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ2. การวิเคราะห์ความรู้ที่จับได้3. การตรวจสอบความถูกต้องของความรู้4. การสังเคราะห์ให้เหมาะสมกับการใช้งานCoP(Community of Practice)ชุมชนนักปฏิบัติ คือ อะไร คือ ชุมชนที่มีการรวมตัวกัน หรือเชื่อมโยงกันอย่างไม่เป็นทางการ โดยมีลักษณะดังนี้- ประสบปัญหาลักษณะเดียวกัน- มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากกันและกัน- มีเป้าหมายร่วมกัน มีความมุ่งมั่นร่วมกัน ที่จะพัฒนาวิธีการทำงานได้ดีขึ้น- วิธีปฏิบัติคล้ายกัน ใช้เครื่องมือ และภาษาเดียวกัน- มีความเชื่อ และยึดถือคุณค่าเดียวกัน- มีบทบาทในการสร้าง และใช้ความรู้- มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน อาจจะพบกันด้วยตัวจริง หรือผ่านเทคโนโลยี-มีช่องทางเพื่อการไหลเวียนของความรู้ ทำให้ความรู้เข้าไปถึงผู้ที่ต้องการใช้ได้ง่าย- มีความร่วมมือช่วยเหลือ เพื่อพัฒนาและเรียนรู้จากสมาชิกด้วยกันเอง- มีปฏิสัมพันธ์ต่อเนื่อง มีวิธีการเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่สายในทางสังคมทำให้เพิ่มพูนความรู้ที่ลึกซึ้งขึ้นเรื่อยๆ ในระดับที่ง่ายที่สุด ชุมชนนักปฏิบัติ คือ คนกลุ่มเล็กๆ ซึ่งทำงานด้วยกันมาระยะหนึ่ง มีเป้าหมายร่วมกัน และต้องการที่จะแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์จากการทำงาน กลุ่มดังกล่าวมักจะไม่ได้เกิดจากการจัดตั้งโดยองค์การ เป็นกลุ่มที่เกิดจากความต้องการทางสังคม และความพยายามที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จ เป็นกลุ่มที่ไม่มีอำนาจ ไม่มีการกำหนดไว้ในแผนภูมิโครงสร้างองค์กร และอาจจะมีเป้าหมายที่ขัดแย้งกับผู้นำองค์กร ในหนึ่งองค์กรอาจจะมีชุมชนนักปฏิบัติจำนวนมาก และคนคนหนึ่งจะเป็นสมาชิกในหลายชุมชน ชุมชนนักปฏิบัติมีความสำคัญอย่างไร เครือข่ายความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ เกิดจากความใกล้ชิด ความพอใจ และพื้นฐานที่ใกล้เคียงกัน ลักษณะที่ไม่เป็นทางการจะเอื้อต่อการเรียนรู้ และการสร้างความรู้ใหม่ๆ มากกว่าโครงสร้างที่เป็นทางการ คำว่า ปฏิบัติ หรือ practice ใน CoP ชี้จุดเน้นที่ การเรียนรู้ซึ่งได้รับจากการทำงาน เป็นหลัก เป็นแง่มุมเชิงปฏิบัติ ปัญหาประจำวัน เครื่องมือใหม่ๆ พัฒนาการในเรื่องงาน วิธีการทำงานที่ได้ผล และไม่ได้ผล การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทำให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก สร้างความรู้ และความเข้าใจได้มากกว่าการเรียนรู้ จากหนังสือ หรือการฝึกอบรมตามปกติ เครือข่ายที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งมีสมาชิกจากต่างหน่วยงาน ช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ดีกว่า การสื่อสารตามโครงสร้างที่เป็นทางการ ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับชุมชนนักปฏิบัติอุปสรรคของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ - ไม่พูด ไม่คุย - ไม่เปิด ไม่รับ - ไม่ปรับ ไม่เรียน - ไม่เพียร ไม่ทำคลังความรู้ (Knowledge Assets) ประกอบด้วย 3 ส่วน 1.เรื่องเล่าหรือคำพูดที่เร้าใจ + 2. การถอดบทเรียนที่ได้ + 3. แหล่งข้อมูลบุคคลอ้างอิง (Tacit Knowledge) (Explicit Knowledge) (References)ข้อควรระวังในการทำ KS - ให้ share "เรื่องเล่า" ไม่ใช่ share "ความคิด" - เป็น Storytelling ไม่ใช่ Problem-solving ไม่ใช่ Planning - share แล้วต้อง Learn และ Learn แล้วต้อง Lead (นำ) ...นำสู่การกระทำ ...นำสู่ภาพที่ต้องการ"ทุกความสำเร็จในองค์กร ย่อมมาจากกลยุทธ์การวางแผน การปฏิบัติ และการจัดการอย่างมืออาชีพ"

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552