วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ใบงานที่ 14
ประโยชน์ของ Blog นั้นมีมากมายกว้างขวางยิ่งกว่า ไดอารี่ หรือบันทึกส่วนตัวทั่วๆไป
จุดเด่นในการใช้ (เว็บบล็อก)Weblogหรือบล็อก(Blog) Blogspot.com
- เป็นสื่อที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้เขียนในเรื่องต่างๆที่เสนอให้ผู้ที่สนใจรับรู้
- สามารถปรับแต่ง แก้ไขได้ง่ายบนหน้าจอตามที่ต้องการได้
- สามารถนำเสนอสื่อมัลติมิเดีย เช่น วีดีโอ สไลด์ เพลง รูปภาพ ได้หลากหลาย
- เป็นแหล่งรวมความรู้ที่หลากหลาย เผยแพร่และเข้าถึงได้ง่าย
- เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์งานต่าง ๆ เสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวขององค์กรได้
- เป็นแหล่งเก็บข้อมูล ที่ทันสมัย ใช้ส่งข้อมูล หรือติดต่อสื่อสาร ออนไลน์
- ทำให้ทันต่อเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน เพราะข่าวสารความรู้ มาจากผู้คนมากมาย(ทั่วโลก) และมักจะเปลี่ยนแปลงได้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ
จุดด้อยในการใช้ (เว็บบล็อก)Weblogหรือบล็อก(Blog) Blogspot.com
- เครื่องมือที่ใช้มีหลากหลายยังศึกษาได้ไม่ครบทุกตัว ทำให้พัฒนาได้ไม่เต็มที่
- blogspot.com จำเป็นจะต้องศึกษาโปรแกรมอื่นเพิ่มเติมเพื่อได้ใช้งานร่วมกัน
เปรียบเทียบ Blogspot.com กับ Blog Go to Know
- blogspot สามารถตกแต่ง blog ได้หลากหลาย สามารถใส่คลิปเพลง คลิปวีดีโอ และลูกเล่นต่างๆ ได้ เยอะ ทำให้มีความน่าสนใจมาก เปิดโอกาสให้เจ้าของ blog ได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ได้เต็มที่ ส่วนGotokhow ไม่สามารถตกแต่ง blog ได้มาก
- blogspot ข้อความจะปรากฏเฉพาะใน blog ตัวเองเท่านั้น ส่วนGotokhow เมื่อบันทึกบทความแล้ว นอกจากข้อความจะปรากฏใน blog ตัวเองแล้วยังปรากฏใน blog กลางของ gotokhow ด้วย
- blogspot ผู้เข้าไปใช้งานจะมีความหลากหลาย ส่วนGotokhow ผู้ใช้งานมักค้นหางานวิชาการหรือเผยแพร่บทความ
- Gotokhow เป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้ เผยแพร่ความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ เป็นเครื่องมือค้นหาผู้ชำนาญการ และสามารถแยกแยะประเภทของความรู้และสร้างความสัมพันธ์ของความรู้ โดยเจ้าของบล็อกสามารถจัดกลุ่มบันทึกแต่ละบันทึกด้วยคำหลักซึ่งแทนแก่นความรู้สำคัญของบันทึกนั้นๆ ซึ่ง blogspot ไม่มีบันทึกคำหลัก ไม่มีการจัดกลุ่มบันทึก มีแต่ชื่อเรื่อง และป้ายกำกับ
วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ใบงานที่ 13
ใบงานครั้งที่13
โครงการพัฒนานักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
กิจกรรมศึกษาดูงานด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา
ภาคกลาง – ภาคอีสาน วันที่ 17 - 22 มกราคม 2553
- การศึกษาดูงานโรงเรียนอนุบาลหนองคาย
โรงเรียนอนุบาลหนองคายเปิดสอนในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งสิ้น 2,002 คน 49 ห้องเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โทร 042-411051 www.anubannk.org
ผลงานของโรงเรียนอนุบาลหนองคาย
1. โรงเรียนรางวัลพระราชทานระดับประถมศึกษา
2. โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง
3. โรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
4. โรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาปฐมวัย
5. โรงเรียนวิถีพุทธ
6. โรงเรียนส่งเสริมสุภาพ
7. โรงเรียนดีศรีหนองคาย
ซึ่งในการเข้าเยี่ยมชมในครั้งนี้ผู้บริหารได้มาต้อนรับและทำการบรรยายถึงยุทธวิธีการบริหารโรงเรียนให้ประสบความสำเร็จอย่างมีคุณภาพ ผู้บริหารใช้เทคนิคเร้าพลังให้ครูจะต้องมี best Practice ในแต่ละคนจะมีผลงานที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนมานำเสนอทุกคน ทำให้ครูได้พัฒนาตนเอง จนได้ คศ.3 ทุกคน
- การศึกษาดูงานประเทศลาว
ได้มีโอกาสเข้าสู่ประเทศลาวซึ่งเป็นบ้านพี่เมืองน้องของไทย ประชากรน้อยมีแค่ 9 ล้านคน ผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 5:1 ผู้หญิงจะไม่ค่อยแต่งงาน วิถีชีวิตของคนลาวมีส่วนคล้ายคลึงกับประเทศไทยมากแต่ประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้ามากกว่า คนลาวมีวิถีชีวิตที่ค่อนข้างเรียบง่าย ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง อยู่อย่างพอมีพอกิน จะไม่เป็นหนี้ และในประเทศลาวจะไม่ค่อยมีตำรวจจะไม่มีคดี โจรผู้ร้ายไม่มี จะอยู่แบบสังคมที่สงบสุข มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมอย่างชัดเจน คือ นักเรียน นักศึกษาจะนุ่งผ้าซิ่น ในแต่ละบ้านจะปักธงชาติทุกหลังเพื่อให้เห็นถึงความรักชาติ
- การศึกษาดูงานที่หมู่บ้านงูจงอาง
ที่บ้านโคกสง่า ตำบลทรายมูล ได้ร่วมดูการแสดงคนกับงูจงอาง การจูหัวงู การอมหัวงู การนำงูเข้าในในกางเกง ซึ่งเป็นการแสดงที่ค่อนข้างอันตรายคนที่ไม่มีประสบการณ์จะลองทำไม่ได้ เป็นสังคมชนบทอยู่มาก มีการหาสมุนไพรมาขายหลากหหลาย และได้รับการต้อนรับที่ดีจากชุมชนที่นั้นเป็นอย่างดี
- การศึกษาที่จังหวัดเพชรบุรี ณ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
ได้ไปเยี่ยมชมทิวทัศน์รอบเขื่อน โดยนั่งเรือดูรอบๆ เขื่อนสวยงามมาก ได้ร่วมรับประทานอาหารร่วมกันในตอนเย็นมีการทำกิจกรรมกลุ่มสังสรรค์ ร้องเพลง เต้นรำตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยเฉพาะอาจารย์อภิชาติร้องเพลงเพราะมาก
- ผลการเรียนที่ความคาดหวังไว้ คือ A ค่ะ เพราะหนูได้ฝึกการศึกษาค้นคว้าจากอินเทอเน็ต ฝึกการทำบล็อก ความรู้ที่ได้เป็นประโยชน์ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาได้เป็นอย่างดี และหนูมีความตั้งใจเรียนไม่เคยขาดเรียน ทำงานส่งทุกครั้ง ซึ่งทำให้สามารถพัฒนาตนเองได้เป็นอย่างดี และหนูขอขอบคุณอาจารย์มากที่ได้ให้ความรู้ ประสบการณ์ที่ดีที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและหน่วยงาน
วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553
ใบงานที่12
ให้สรุปการนำเสนอโปรแกรม SPSS OF WINDOWS ในวันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม 2552
ตามที่ได้เรียนรู้
ส่วนประกอบหลักของ
SPSS FOR WINDOWS
-Title Bar บอกชื่อไฟล์
-Menu Bar คำสั่งการทำงาน
-Cell Editor กำหนดค่าตัวแปร
-Cases ชุดของตัวแปร
-Variable กำหนดชื่อตัวแปร
-View Bar มีสองส่วน
--Variable View
สร้างและแก้ไขโครงสร้างตัวแปร
--Data View
เพิ่มและแก้ไขตัวแปร
-Status Bar แสดงสถานการณ์ทำงาน
เปิด SPSS Data Editor
File -> New -> Data
กำหนดชื่อและรายละเอียด
จากหน้าจอ Variable View
ป้อนข้อมูล Data View
บันทึกข้อมูล
File -> Save
การกำหนดชื่อและรายละเอียดตัวแปร
ที่หน้าจอ SPSS Data Editor เรียกหน้าจอ Variable View ทำได้ 2 วิธี
1. ดับเบิลคลิกตรงคอลัมน์ของบรรทัดแรก
2. คลิกแถบ Variable View ที่อยู่ด้านล่าง
เมื่อได้หน้าต่างของ Variable View
1. Name ชื่อตัวแปร ให้พิมพ์ตรงคอลัมน์ Name เช่น Sex
2. Type ประเภทของตัวแปร
เลือก Numeric Width=1 Decimal Places=0 คลิกปุ่ม OK
3. Label กำหนดข้อความขยายชื่อตัวแปร เพื่ออธิบายชื่อตัวแปรและแสดงออกทางผลลัพธ์
ให้พิมพ์ตรงคอลัมน์ Label เช่น เพศ
4. Values กำหนดคำอธิบายให้กับค่าตัวแปร
5. Missing กำหนดค่าที่ไม่นำไปวิเคราะห์ มี 2 แบบ
5.1 User Missing ผู้วิจัยเป็นผู้กำหนด เช่น 9, 99, 999, …
5.2 System Missing โปรแกรมจะกำหนดให้เอง
6. Column จำนวนความกว้างของคอลัมน์ คือจำนวนความกว้างมากสุดของ ค่าตัวแปร หรือ ชื่อตัวแปร หรือ label ตัวแปร
จากตัวอย่าง ชื่อตัวแปร และ label ตัวแปร มีความกว้างมากสุดเท่ากับ 3
ให้พิมพ์ 4 (ความกว้างมากสุดเท่ากับ 3 บวกเผื่อไว้ 1)
7. Align ให้แสดงค่าตัวแปร ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา
8. Measure ระดับการวัดของข้อมูล
7.1 Scale (Interval, Ratio)
7.2 Ordinal
7.3 Nominal
ให้กำหนดชื่อและรายละเอียดของตัวแปรให้ครบทุกตัว
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. คลิกที่เมนู Analyze เลือก Descriptive Statistic และเลือก Frequencies
2. จากนั้นเราจะได้กรอบ Frequencies
กรอบ Frequencies ทางช่องซ้ายมือเป็นตัวแปรต่างๆ ที่ได้จากแบบสอบถาม ทางช่องขวามือจะเป็นส่วนเลือกตัวแปรเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล
3. เราจะเลือกตัวแปรโดยการคลิกที่ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ทางซ้ายมือ จากนั้นคลิกปุ่มเลือก(สามเหลี่ยมสีดำ)ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ก็จะตกไปอยู่ทางช่องขวามือ ในที่นี้ให้เลือกทั้งหมดทุกตัวแปร
4.คลิกปุ่ม Statistics แล้วจะได้กรอบ Frequencies Statistics
5. เลือกประเภทการวิเคราะห์ข้อมูล ในที่นี้เราจะวิเคราะห์ Central Tendency และ Dispersion โดย
ส่วน Central Tendency เลือก Mean, Median, Mode, Sum และส่วน Dispersion เลือก Std. deviation, Minimum, Maximum
เลือกเสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม Continue
เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics
6. ต่อไปให้คลิกปุ่ม Charts จะได้กรอบ Frequencies Charts
ในส่วน Frequencies Charts นี้ท่านสามารถเลือก Chart Type ว่าต้องการเป็น Charts ชนิดใด ในที่นี้ให้เลือก Bar charts แล้วคลิก Continue
7. เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics ดังภาพ จากนั้นคลิกปุ่ม OK ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล
วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553
ให้ศึกษาข้อมูลจากสถานศึกษาของตนเองแล้วดำเนินการจัดลงในบล็อกดังนี้
ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนบ้านคลองตีนเป็ด
สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 2 ตำบลทุ่งใส อำเภอทุ่งใส จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่อง การพัฒนานวัตกรรมและสารสนเทศในสถานศึกษา
แนวคิดเกี่ยวกับการจัดนวัตกรรมและสารสนเทศของสถานศึกษา
1. บุคคล/หน่วยงานที่รู้จักจัดการความรู้ มีการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศและคิดค้นนวัตกรรมที่เหมาะสมกับสภาพองค์กรจะทำให้องค์กรก้าวสู่ความสำเร็จ มีคุณภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามเป้าหมาย รวมทั้งยังได้รับการสนับสนุนร่วมมือจากบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กร
2. ในการบริหารสถานศึกษาหรือการบริหารองค์กรใดก็ตามผู้บริหารต้องอาศัยข้อมูลข่าวสาร และ
บริบทขององค์กรมาประมวลเป็นความรู้และจัดทำเป็นระบบสารสนเทศของสถานศึกษาเพื่อทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ และสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการภายในสถานศึกษา เช่น การนำผลการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาพโรงเรียนไปใช้ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน นำผลสรุปการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาพโรงเรียนไปใช้ในการจัดทำเอกสารแผนกลยุทธ์และกรอบประมาณการรายจ่ายล่วงหน้า (กรมสามัญ.2545 : 24)
3. สารสนเทศจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดทิศทาง ยุทธศาสตร์ และนโยบายขององค์กร
4. นวัตกรรมและสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ทำให้มีระบบและกลไกในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา ไม่ว่าจะเป็น ทรัพยากรการเงิน ทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรด้านวัสดุอุปกรณ์ ทรัพยากรด้านการบริหารจัดการ
5. นวัตกรรมและสารสนเทศเป็นกลไกในการบริหารงานบุคคลที่จะช่วยส่งเสริมสมรรถนะในการปฏิบัติงาน ทำให้บุคลากรมีขวัญกำลังใจ มีการพัฒนาและรักษาคุณภาพในการปฏิบัติงาน รวมทั้งช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรที่มีศักยภาพมีโอกาสประสบความสำเร็จและก้าวหน้าในอาชีพ/หน้าที่การงานอย่างรวดเร็วตามสายงาน
6. สารสนเทศทำการปฏิบัติงานในสถานศึกษาให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว มีระบบ และมีข้อมูลที่พร้อมใช้งานหรือรายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียทันเวลา ทันเหตุการณ์ อย่างมีประสิทธิภาพ
วิสัยทัศน์
โรงเรียนบ้านคลองตีนเป็ดมุ่งจัดการศึกษาให้นักเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานภายใต้การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์ที่ 1 ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม สำนึกในความเป็นไทยเน้นวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแก่ผู้เรียน
กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการศึกษา
กลยุทธ์ที่6 ส่งเสริมนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
บริบทของโรงเรียน
สภาพชุมชนโดยรอบโรงเรียนมีลักษณะ เป็นชุมชนชนบท ห่างจากตัวเมืองหรือตลาด ๑๔ กิโลเมตร พื้นที่ตั้งโรงเรียนเป็นเนินเขาสูงกว่าที่ราบปกติบริเวณใกล้เคียงประมาณ ๑๐ เมตร น้ำจึงไม่ท่วมแต่มีข้อจำกัดเรื่องน้ำอุปโภคในช่วงหน้าแล้ง เพราะยังไม่มีแหล่งน้ำที่เพียงพอ ประชากรในเขตบริการส่วนใหญ่ทำสวนแต่เป็นสวนขนาดเล็กเพราะมีพื้นที่มีจำกัด รายได้จึงน้อย ไม่ค่อยเพียงพอในการใช้จ่ายในครัวเรือน โอกาสที่จะให้การสนับสนุนโรงเรียนเป็นตัวเงินจึงมีไม่มากนัก แต่ถ้าเป็นกำลังแรงงานเขาจะมีความพร้อมและให้การสนับสนุนดีมาก บ้านเรือนเป็นบ้านเดี่ยวอยู่ห่างกันไม่มากนัก และรู้จักกันเป็นอย่างดี มีประชากรประมาณ ๒,๕๐๐ คน บริเวณใกล้เคียงจะมีวัดอยู่ติดกับโรงเรียน โดยรอบโรงเรียนจะมีสวนยาง สวนมะพร้าว และบ้านเรือนของชุมชน อาชีพหลักของชุมชนคือ การทำสวนยางพารา ทำสวนยางผลไม้ รับจ้าง เนื่องจากประชากรมีการศึกษาน้อย พื้นที่เป็นที่ราบริมเชิงเขา และอยู่บนเนินสูงไม่สะดวกในการทำนา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประเพณีที่รู้จักโดยทั่วไป คือ ประเพณีการทำบุญวันสารทเดือนสิบ ประเพณีทำบุญให้ทานไฟ ประเพณีสงกรานต์ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ ประเพณีลอยกระทง วัฒนธรรมท้องถิ่นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ การจักสานจากไม้ไผ่ มโนราห์
ระบบโครงสร้างการบริหาร
บริหารงานวิชาการ การบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคล งานบริหารทั่วไป
๑.การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ๑.การจัดทำและเสนองบประมาณ ๑.การวางแผนอัตราลากำลังกำหนดตำแหน่ง ๑.การดำเนินงานธุรการ
๒.การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ๒.การจัดสรรงบประมาณ ๒.การสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง ๒.งานเลขานุการคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน
๓.การวัดผล ประเมินผลและเทียบโอน ผลการเรียน ๓.การตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล และราย งาน ผลการใช้เงินและผลการดำเนินงาน ๓.การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ๓.งานพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูล สารสนเทศ
๔.การวิจัยเพื่อการพัฒนา ๔.การระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา ๔.วินัยและการรักษาวินัย ๔.การประสานและพัฒนาเครือข่ายการศึกษา
๕.การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ทางการศึกษา ๕.การบริหารการเงิน ๕.การออกราชการ ๕.การจัดระบบการบริหารและพัฒนาองค์กร
๖.การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ ๖.การบริหารบัญชี ๖.งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
๗.การนิเทศการศึกษา ๗.การบริหารพัสดุและสินทรัพย์ ๗.การส่งเสริม สนับสนุนด้านวิชาการ งบประมาณ บุคลากรและบริหารทั่วไป
๘.การแนะแนวการศึกษา ๘.การดูแลอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
๙.การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภาย ในสถานศึกษา ๙.การจัดทำสำมะโนผู้เรียน
๑๐.การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชน ๑๐.การรับนักเรียน
๑๑.การประสานความร่วมมือในการพัฒนา วิชาการกับสถานศึกษาอื่น ๑๑.การส่งเสริมและประสานงานการกึกษาในระบบนอกระบบการตามอัธยาศัย
๑๒.การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการ แก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา ๑๒.การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
๑๓.งานส่งเสริมงานกิจการนัดเรียน
๑๔.งานประชาสัมพันธ์งานการศึกษา
๑๕.การส่งเสริมสนับสนุนและประสานงานการศึกษาของชุมชน องค์กร หน่วยงาน และสถาบัน สังคมอื่นที่จัดการศึกษา
๑๖.งบประสานราชการกับเขตพื้นที่การศึกษาและหน่วยงานอื่น
๑๗.การจัดประสานราชการกับเขตพื้นที่การ ศึกษาและหน่วยงานอื่น
๑๘.งานบริการสาธารณะ
๑๙.งานที่ไม่ได้ระบุไว้ในงานอื่น
สภาพปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนา
1. โรงเรียนมีสื่อที่ทันสมัยอยู่บ้าง เช่น ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ แต่ไม่สามารถจัดกิจกรรมได้อย่างเต็มที่เพราะอุปกรณ์ที่ได้มานานและชำรุดใช้การไม่ได้และมีเครื่องคอมพิวเตอร์น้อยนักเรียนจึงได้เรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์น้อย และได้ศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ตได้ไม่เต็มที่
2. การจัดสารสนเทศทำการปฏิบัติงานในสถานศึกษายังไม่เป็นระบบเท่าที่ควรทำให้เกิดความล่าช้าในการค้นหาข้อมูล และไม่ได้รายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียทันเวลา
3. สถานศึกษายังไม่ได้ปรับปรุงแบบเก็บข้อมูลให้กะทัดรัด ชัดเจน เข้าใจง่าย สะดวกต่อการใช้ง่ายต่อการเก็บรักษาและลดความซ้ำซ้อนของงานโดยไม่จำเป็น สร้างเครื่องมือเก็บยังไม่สอดคล้องกับลักษณะของข้อมูลและแหล่งข้อมูล เช่น แบบสำรวจ แบบรายงาน หรือ แบบสอบถาม เป็นต้น
4.. บุคลากรยังไม่มีความรู้ในด้านการจัดทำสารสนเทศด้วยระบบคอมพิวเตอร์ วิธีการใช้โปรแกรมต่างๆ ที่จะต้องปรับปรุงระบบสารสนเทศของโรงเรียนแก่บุคลากรในโรงเรียนจึงควรให้การฝึกอบรมและพัฒนาครูให้มีความรู้ ความสามารถในการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ได้ เรียนรู้วิธีการใช้โปรแกรมต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานของตนเอง เพื่อกระจายงาน และมีข้อมูลทันต่อการใช้งาน
3. ควรจะมีผู้รับผิดชอบและประสานงานปรับปรุงระบบสารสนเทศจัดให้อยู่ใน รูปคณะกรรมการโดยคัดเลือกจากบุคคลที่เหมาะสม และมีจำนวนมากพอกับปริมาณงานที่ต้องรับผิดชอบ
ผู้ให้ข้อมูล นางสาวศศิธร ช่วยสงค์
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านคลองตีนเป็ด ณ วันที่ 17 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552
การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ (รหัส 1036301)
เสนอ ดร.ประกอบ ใจมั่น และ อ.อภิชาติ วัชรพันธุ์
โดย นางสาวศศิธร ช่วยสงค์ รหัส 5246701009
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต การบริหารการศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ระบบข้อมูล
1. ผู้รับผิดชอบและประสานงานวิเคราะห์ความต้องการข้อมูลโดยดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1.1 จำแนกรายการประเภทข้อมูลให้ครอบคลุมการดำเนินงานของโรงเรียนทุก
ท่าน ทั้ง ด้านวิชาการ ธุรการ บุคลากร การบริหารงานทั่วไป
1.2 ปรับปรุงแบบเก็บข้อมูลให้กะทัดรัด ชัดเจน เข้าใจง่าย สะดวกต่อการใช้ง่าย
ต่อการ เก็บรักษา และลดความซ้ำซ้อนของงานโดยไม่จำเป็น สร้างเครื่องมือเก็บให้สอดคล้อง กับลักษณะของข้อมูลและแหล่งข้อมูล เช่น แบบสำรวจ แบบรายงาน หรือ แบบสอบถาม เป็นต้น
1.3 กำหนดระบบการรวบรวม การเก็บรักษา การทำข้อมูลให้เป็นปัจจุบันรวมทั้ง
การ นำเสนอและการใช้ข้อมูล
1.4 นำผลที่ได้จาก ข้อ 1.1 - 1.3 ไปชี้แจงตกลงร่วมกันกับ ครูทั้งโรงเรียน เพื่อให้เกิด
ความ เข้าใจและยอมรับร่วมกัน
2. จัดระบบสารสนเทศตามที่ได้ตกลงกันไว้
3. ทดลองใช้ระบบสารสนเทศระยะหนึ่งแล้วปรับปรุงให้เหมาะสมได้ประโยชน์และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
4. แต่ละงาน ฝ่าย และผู้บริหารระบุรายการข้อมูลที่ใช้ปฏิบัติงาน และให้บริการตามลำดับความจำเป็นก่อนและหลัง อาจรวบรวมในเวลาที่ต่างกัน แล้วแต่ความสะดวกรวดเร็ว และทันต่อการนำไปใช้ เช่น อาจเก็บข้อมูลเป็นวัน สัปดาห์ เดือน ภาคการศึกษา ปีการศึกษา หรือปีงบประมาณเป็นต้น และให้สอดคล้องกับกำหนดวันจัดเก็บข้อมูลของสำนักการศึกษา
5. ประสานงานกับผู้พัฒนาโปรแกรมให้มีชุดคำสั่งในการสำรองข้อมูลอัตโนมัติ (Back up Data) เพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย
6. จัดทำเอกสาร คู่มือ การใช้งานของโปรแกรมต่างๆ สำหรับให้ศึกษาเพิ่มเติม ได้ตลอดเวลา
7. มีการตรวจสอบข้อมูล คือ มีความเป็นปัจจุบัน ข้อมูลที่เกิดทันต่อการใช้งาน มีความเที่ยงตรง ตามเนื้อหาของสาระสนเทศที่ต้องการ
บุคลากร
1. ให้ความรู้และเหตุผลที่จำเป็นต้องปรับปรุงระบบสารสนเทศของโรงเรียนแก่บุคลากรในโรงเรียน
2. ให้การฝึกอบรมและพัฒนาครูให้มีความรู้ ความสามารถในการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ได้ เรียนรู้วิธีการใช้โปรแกรมต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานของตนเอง เพื่อกระจายงาน และมีข้อมูลทันต่อการใช้งาน
3. ผู้รับผิดชอบและประสานงานปรับปรุงระบบสารสนเทศจัดให้อยู่ในรูปคณะกรรมการโดยคัดเลือกจากบุคคลที่เหมาะสม และมีจำนวนมากพอกับปริมาณงานที่ต้องรับผิดชอบ
ด้านทรัพยากรของระบบ
1. จัดให้มีศูนย์สารสนเทศระดับโรงเรียน มีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย และการสื่อสารข้อมูลสารสนเทศแบบเชื่อมตรงกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก โดยใช้ระดับ Intranet
2. ประสานงานกับผู้ดูแล Website ให้ปรับปรุงการทำงานของโปรแกรม เพื่อให้ผู้กรอกข้อมูลสามารถกรอกข้อมูลแบบ Offline ได้
3. จัดหาอุปกรณ์เสริมให้ครบถ้วนเพื่อความสะดวกในการใช้งาน และจัดหาวัสดุให้เพียงพอต่อการใช้งาน เช่น แผ่นซีดี แผ่นดิสก์ และอื่นๆ
งบประมาณ
โรงเรียนต้องจัดสรรงบประมาณสำหรับขยายระบบสารสนเทศและพัฒนานวัตกรรมให้มีสมรรถนะการทำงานที่สูงขึ้น โดยขอจัดสรรงบประมาณจากหน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ของบแปรญัตติจากสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร มีแผนการใช้งบประมาณที่รองรับการขยายระบบสารสนเทศและพัฒนานวัตกรรม
ศึกษาเกี่ยวกับการใช้การใช้โปรแกรม SPSS OF WINDOWS ทบทวนพื้นฐานโดยให้สรุปหัวข้อประเด็นดังนี้
1.ความหมายของสถิติ
สถิติมีความหมาย 2 อย่างคือ
1 หมายถึง ตัวเลขหรือกลุ่มของตัวเลขที่แสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องหนึ่งแรื่องใดเช่นสถิติเกี่ยวกับปริมานน้ำฝน สถิติการเกิดอัคคีภัย เป็นต้น
2 หมายถึง วิชาที่เป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลป ว่าด้วยการศึกษาที่เกี่ยวกับข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูล ( collection of date) การนำเสนอข้อมูล( presentation of date)
การวิเคราะข้อมูล (analysis of date) ความหมายข้อมูล (interpretation of data )
2.ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีความหมายว่าอย่างไร และแต่ละค่าเป็นสถิติประเภทใด
ค่าเฉลี่ย (Mean) หรือเรียกว่าค่ากลางเลขคณิต ค่าเฉลี่ย ค่ามัชฌิมเลขคณิต เป็นต้น ความหมายเป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
มัธยฐาน (Median) คือ คะแนนที่อยู่ตรงกลางที่แบ่งคะแนนออกเป็นสองกลุ่มเท่า ๆ กัน ทำโดยนำคะแนนที่ได้มาเรียงตามลำดับจากมากไปน้อยหรือจากน้อยไปหามาก มักเขียนแทนด้วย Mdn เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
ฐานนิยม (Mode) คือ ค่าที่ซ้ำกันมากที่สุดหรือที่มีความถี่มากที่สุด เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นการวัดการกระจายที่นิยมใช้กันมากเขียนแทนด้วย S.D. หรือ S เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
3.ประชากรและกลุ่มตัวอย่างมีความหมายต่างกัน กล่าวคือ
ประชากร (Population) หมายถึง หน่วยทุกหน่วย (ซึ่งอาจมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้) ที่เรา สนใจเช่น จำนวนคนไทยที่เป็นเพศชาย ประชากรคือคนไทยทุกคนที่เป็นเพศชาย จำนวนรถยนต์ในจังหวัดพิษณุโลก ประชากรคือ รถยนต์ทุกคันที่อยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ
กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง หน่วยย่อยของประชากรที่เราสนใจ เช่น จำนวนรถยนต์ที่วิ่งในจังหวัดพิษณุโลกซึ่งไม่สามารถจัดเก็บได้ทัน จึงต้องใช้ตัวอย่างซึ่งตัวอย่างจะต้องเป็น รถยนต์ที่กำลังวิ่งอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ
4.ข้อมูลระดับนามบัญญัติ (Nominal Scale) หมายถึง ข้อมูลที่แบ่งเป็นกลุ่มเป็นพวก เช่น เพศ อาชีพ ศาสนา ผิวสี ฯลฯ ไม่สามารถนำมาจัดลำดับ หรือนำมาคำนวณได้
-ข้อมูลระดับอันดับ (Ordinal Scale) หมายถึง ข้อมูลที่สามารถแบ่งเป็นกลุ่มได้ แล้วยังสามารถบอกอันดับที่ของความแตกต่างได้ แต่ไม่สามารถบอกระยะห่างของอันดับที่แน่นนอนได้ หรือไม่สามารถเปรียบเทียบได้ว่าอันดับที่จัดนั้นมีความแตกต่างกันของระยะห่างเท่าใด เช่น อันดับที่ของการสอบของนักศึกษา อันดับที่ของผู้เข้าประกวดนางสาวไทย ฯลฯ
-ข้อมูลระดับช่วงชั้น,อันตรภาค (Interval Scale) หมายถึง ข้อมูลที่มีช่วงห่าง หรือระยะห่างเท่าๆ กัน สามารถวัดค่าได้แต่เป็นข้อมูลที่ไม่มีศูนย์แท้ เช่น อุณหภูมิ คะแนนสอบ GPA คะแนน I.Q. ฯลฯ
-ข้อมูลระดับอัตราส่วน (Ratio Scale) หมายถึง ข้อมูลที่มีมาตราวัดหรือระดับการวัดที่สูงที่สุด คือนอกจากสามารถแบ่งกลุ่มได้ จัดอันดับได้ มีช่วงห่างของข้อมูลเท่าๆกันแล้ว ยังเป็นข้อมูลที่มีศูนย์แท้เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง ระยะทาง รายได้ จำนวนต่างๆ ฯลฯ
5.ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (Independent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดผล หรือก่อให้เกิดการแปรผันของปรากฏการณ์ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยกำหนดหรือจัดกระทำได้ เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากตัวแปรนี้
ตัวแปรตาม (Dependent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นผลมากจากการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรอิสระ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยมุ่งวัดเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับนำมาวิเคราะห ์เพื่อตอบคำถามของการวิจัยว่าเป็นผลมากจากสิ่งใด
6. สมมุติฐาน หมายถึง ข้อความที่ผู้วิจัยคาดหวังหรือคิดเกี่ยวกับความแตกต่างที่อาจจะเป็นไปได้ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ หรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ หรือตอบปัญหาต่าง ๆ โดยอาศัย ประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ ฯลฯ เป็นการเสนอคำตอบชั่วคราวของปัญหาที่ยังไม่ได้ทำการตรวจสอบ โดยอาศัยข้อมูลจากการไปตรวจสอบเอกสาร หรือเป็นการเดาอย่างมีเหตุผลซึ่งสมมุติฐานนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นจริงเสมอไป
ประเภทของสมมุติฐาน ในวงการวิจัยนั้น สมมุติฐานมีอยู่ 2 ประเภท คือ
1. สมมุติฐานการวิจัย (Research Hypothesis or Descriptive Hypothesis) เป็นข้อความที่เขียนในลักษณะบรรยาย หรือคาดคะเนคำตอบของการวิจัย ซึ่งข้อความดังกล่าวจะแสดงถึงความเกี่ยวข้องกันของตัวแปรในรูปของความสัมพันธ์ หรือในรูปของความแตกต่างที่ได้คาดคะเนไว้ เช่น การสอนซ่อมเสริมโดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนวิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าการสอนซ่อมเสริมด้วยวิธีปกติ
2. สมมุติฐานทางสถิติ (Satirical Hypothesis) เป็นสมมุติฐานที่แปลงรูปจากสมมุติฐานการวิจัยมาอยู่ในรูปแบบทางคณิตศาสตร์ โดยมีการแทนค่าด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งจะเกิดขึ้น ในกรณีที่ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างและจะอ้างอิงไปสู่กลุ่มประชากร โดยการทดสอบสมมุติฐาน
7. T-test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย เหมาะสำหรับถ้าตัวแปรเป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่สามารถวัดค่าได้
F – test (หรือ ANOVA) เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป
T-test และ F – test เหมือนกันคือเป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย ต่างกันคือ F – test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยของข้อมูลตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป
ใบงานที่ 8
ศึกษาเกี่ยวกับการใช้การใช้โปรแกรม SPSS OF WINDOWS ทบทวนพื้นฐานโดยให้สรุปหัวข้อประเด็นดังนี้
1.ความหมายของสถิติ
สถิติมีความหมาย 2 อย่างคือ
1 หมายถึง ตัวเลขหรือกลุ่มของตัวเลขที่แสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องหนึ่งแรื่องใดเช่นสถิติเกี่ยวกับปริมานน้ำฝน สถิติการเกิดอัคคีภัย เป็นต้น
2 หมายถึง วิชาที่เป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลป ว่าด้วยการศึกษาที่เกี่ยวกับข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูล ( collection of date) การนำเสนอข้อมูล( presentation of date)
การวิเคราะข้อมูล (analysis of date) ความหมายข้อมูล (interpretation of data )
2.ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีความหมายว่าอย่างไร และแต่ละค่าเป็นสถิติประเภทใด
ค่าเฉลี่ย (Mean) หรือเรียกว่าค่ากลางเลขคณิต ค่าเฉลี่ย ค่ามัชฌิมเลขคณิต เป็นต้น ความหมายเป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
มัธยฐาน (Median) คือ คะแนนที่อยู่ตรงกลางที่แบ่งคะแนนออกเป็นสองกลุ่มเท่า ๆ กัน ทำโดยนำคะแนนที่ได้มาเรียงตามลำดับจากมากไปน้อยหรือจากน้อยไปหามาก มักเขียนแทนด้วย Mdn เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
ฐานนิยม (Mode) คือ ค่าที่ซ้ำกันมากที่สุดหรือที่มีความถี่มากที่สุด เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นการวัดการกระจายที่นิยมใช้กันมากเขียนแทนด้วย S.D. หรือ S เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
3.ประชากรและกลุ่มตัวอย่างมีความหมายต่างกัน กล่าวคือ
ประชากร (Population) หมายถึง หน่วยทุกหน่วย (ซึ่งอาจมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้) ที่เรา สนใจเช่น จำนวนคนไทยที่เป็นเพศชาย ประชากรคือคนไทยทุกคนที่เป็นเพศชาย จำนวนรถยนต์ในจังหวัดพิษณุโลก ประชากรคือ รถยนต์ทุกคันที่อยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ
กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง หน่วยย่อยของประชากรที่เราสนใจ เช่น จำนวนรถยนต์ที่วิ่งในจังหวัดพิษณุโลกซึ่งไม่สามารถจัดเก็บได้ทัน จึงต้องใช้ตัวอย่างซึ่งตัวอย่างจะต้องเป็น รถยนต์ที่กำลังวิ่งอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ
4.ข้อมูลระดับนามบัญญัติ (Nominal Scale) หมายถึง ข้อมูลที่แบ่งเป็นกลุ่มเป็นพวก เช่น เพศ อาชีพ ศาสนา ผิวสี ฯลฯ ไม่สามารถนำมาจัดลำดับ หรือนำมาคำนวณได้
-ข้อมูลระดับอันดับ (Ordinal Scale) หมายถึง ข้อมูลที่สามารถแบ่งเป็นกลุ่มได้ แล้วยังสามารถบอกอันดับที่ของความแตกต่างได้ แต่ไม่สามารถบอกระยะห่างของอันดับที่แน่นนอนได้ หรือไม่สามารถเปรียบเทียบได้ว่าอันดับที่จัดนั้นมีความแตกต่างกันของระยะห่างเท่าใด เช่น อันดับที่ของการสอบของนักศึกษา อันดับที่ของผู้เข้าประกวดนางสาวไทย ฯลฯ
-ข้อมูลระดับช่วงชั้น,อันตรภาค (Interval Scale) หมายถึง ข้อมูลที่มีช่วงห่าง หรือระยะห่างเท่าๆ กัน สามารถวัดค่าได้แต่เป็นข้อมูลที่ไม่มีศูนย์แท้ เช่น อุณหภูมิ คะแนนสอบ GPA คะแนน I.Q. ฯลฯ
-ข้อมูลระดับอัตราส่วน (Ratio Scale) หมายถึง ข้อมูลที่มีมาตราวัดหรือระดับการวัดที่สูงที่สุด คือนอกจากสามารถแบ่งกลุ่มได้ จัดอันดับได้ มีช่วงห่างของข้อมูลเท่าๆกันแล้ว ยังเป็นข้อมูลที่มีศูนย์แท้เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง ระยะทาง รายได้ จำนวนต่างๆ ฯลฯ
5.ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (Independent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดผล หรือก่อให้เกิดการแปรผันของปรากฏการณ์ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยกำหนดหรือจัดกระทำได้ เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากตัวแปรนี้
ตัวแปรตาม (Dependent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นผลมากจากการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรอิสระ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยมุ่งวัดเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับนำมาวิเคราะห ์เพื่อตอบคำถามของการวิจัยว่าเป็นผลมากจากสิ่งใด
6. สมมุติฐาน หมายถึง ข้อความที่ผู้วิจัยคาดหวังหรือคิดเกี่ยวกับความแตกต่างที่อาจจะเป็นไปได้ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ หรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ หรือตอบปัญหาต่าง ๆ โดยอาศัย ประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ ฯลฯ เป็นการเสนอคำตอบชั่วคราวของปัญหาที่ยังไม่ได้ทำการตรวจสอบ โดยอาศัยข้อมูลจากการไปตรวจสอบเอกสาร หรือเป็นการเดาอย่างมีเหตุผลซึ่งสมมุติฐานนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นจริงเสมอไป
ประเภทของสมมุติฐาน ในวงการวิจัยนั้น สมมุติฐานมีอยู่ 2 ประเภท คือ
1. สมมุติฐานการวิจัย (Research Hypothesis or Descriptive Hypothesis) เป็นข้อความที่เขียนในลักษณะบรรยาย หรือคาดคะเนคำตอบของการวิจัย ซึ่งข้อความดังกล่าวจะแสดงถึงความเกี่ยวข้องกันของตัวแปรในรูปของความสัมพันธ์ หรือในรูปของความแตกต่างที่ได้คาดคะเนไว้ เช่น การสอนซ่อมเสริมโดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนวิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าการสอนซ่อมเสริมด้วยวิธีปกติ
2. สมมุติฐานทางสถิติ (Satirical Hypothesis) เป็นสมมุติฐานที่แปลงรูปจากสมมุติฐานการวิจัยมาอยู่ในรูปแบบทางคณิตศาสตร์ โดยมีการแทนค่าด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งจะเกิดขึ้น ในกรณีที่ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างและจะอ้างอิงไปสู่กลุ่มประชากร โดยการทดสอบสมมุติฐาน
7. T-test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย เหมาะสำหรับถ้าตัวแปรเป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่สามารถวัดค่าได้
F – test (หรือ ANOVA) เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป
T-test และ F – test เหมือนกันคือเป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย ต่างกันคือ F – test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยของข้อมูลตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป