วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 2
ให้ศึกษาข้อมูลจากสถานศึกษาของตนเองแล้วดำเนินการจัดลงในบล็อกดังนี้

ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนบ้านคลองตีนเป็ด
สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 2 ตำบลทุ่งใส อำเภอทุ่งใส จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่อง การพัฒนานวัตกรรมและสารสนเทศในสถานศึกษา
แนวคิดเกี่ยวกับการจัดนวัตกรรมและสารสนเทศของสถานศึกษา
1. บุคคล/หน่วยงานที่รู้จักจัดการความรู้ มีการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศและคิดค้นนวัตกรรมที่เหมาะสมกับสภาพองค์กรจะทำให้องค์กรก้าวสู่ความสำเร็จ มีคุณภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามเป้าหมาย รวมทั้งยังได้รับการสนับสนุนร่วมมือจากบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กร
2. ในการบริหารสถานศึกษาหรือการบริหารองค์กรใดก็ตามผู้บริหารต้องอาศัยข้อมูลข่าวสาร และ
บริบทขององค์กรมาประมวลเป็นความรู้และจัดทำเป็นระบบสารสนเทศของสถานศึกษาเพื่อทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ และสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการภายในสถานศึกษา เช่น การนำผลการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาพโรงเรียนไปใช้ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน นำผลสรุปการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาพโรงเรียนไปใช้ในการจัดทำเอกสารแผนกลยุทธ์และกรอบประมาณการรายจ่ายล่วงหน้า (กรมสามัญ.2545 : 24)
3. สารสนเทศจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดทิศทาง ยุทธศาสตร์ และนโยบายขององค์กร
4. นวัตกรรมและสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ทำให้มีระบบและกลไกในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา ไม่ว่าจะเป็น ทรัพยากรการเงิน ทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรด้านวัสดุอุปกรณ์ ทรัพยากรด้านการบริหารจัดการ
5. นวัตกรรมและสารสนเทศเป็นกลไกในการบริหารงานบุคคลที่จะช่วยส่งเสริมสมรรถนะในการปฏิบัติงาน ทำให้บุคลากรมีขวัญกำลังใจ มีการพัฒนาและรักษาคุณภาพในการปฏิบัติงาน รวมทั้งช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรที่มีศักยภาพมีโอกาสประสบความสำเร็จและก้าวหน้าในอาชีพ/หน้าที่การงานอย่างรวดเร็วตามสายงาน
6. สารสนเทศทำการปฏิบัติงานในสถานศึกษาให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว มีระบบ และมีข้อมูลที่พร้อมใช้งานหรือรายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียทันเวลา ทันเหตุการณ์ อย่างมีประสิทธิภาพ

วิสัยทัศน์
โรงเรียนบ้านคลองตีนเป็ดมุ่งจัดการศึกษาให้นักเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานภายใต้การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม

ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์ที่ 1 ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม สำนึกในความเป็นไทยเน้นวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแก่ผู้เรียน
กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการศึกษา
กลยุทธ์ที่6 ส่งเสริมนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
บริบทของโรงเรียน
สภาพชุมชนโดยรอบโรงเรียนมีลักษณะ เป็นชุมชนชนบท ห่างจากตัวเมืองหรือตลาด ๑๔ กิโลเมตร พื้นที่ตั้งโรงเรียนเป็นเนินเขาสูงกว่าที่ราบปกติบริเวณใกล้เคียงประมาณ ๑๐ เมตร น้ำจึงไม่ท่วมแต่มีข้อจำกัดเรื่องน้ำอุปโภคในช่วงหน้าแล้ง เพราะยังไม่มีแหล่งน้ำที่เพียงพอ ประชากรในเขตบริการส่วนใหญ่ทำสวนแต่เป็นสวนขนาดเล็กเพราะมีพื้นที่มีจำกัด รายได้จึงน้อย ไม่ค่อยเพียงพอในการใช้จ่ายในครัวเรือน โอกาสที่จะให้การสนับสนุนโรงเรียนเป็นตัวเงินจึงมีไม่มากนัก แต่ถ้าเป็นกำลังแรงงานเขาจะมีความพร้อมและให้การสนับสนุนดีมาก บ้านเรือนเป็นบ้านเดี่ยวอยู่ห่างกันไม่มากนัก และรู้จักกันเป็นอย่างดี มีประชากรประมาณ ๒,๕๐๐ คน บริเวณใกล้เคียงจะมีวัดอยู่ติดกับโรงเรียน โดยรอบโรงเรียนจะมีสวนยาง สวนมะพร้าว และบ้านเรือนของชุมชน อาชีพหลักของชุมชนคือ การทำสวนยางพารา ทำสวนยางผลไม้ รับจ้าง เนื่องจากประชากรมีการศึกษาน้อย พื้นที่เป็นที่ราบริมเชิงเขา และอยู่บนเนินสูงไม่สะดวกในการทำนา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประเพณีที่รู้จักโดยทั่วไป คือ ประเพณีการทำบุญวันสารทเดือนสิบ ประเพณีทำบุญให้ทานไฟ ประเพณีสงกรานต์ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ ประเพณีลอยกระทง วัฒนธรรมท้องถิ่นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ การจักสานจากไม้ไผ่ มโนราห์


ระบบโครงสร้างการบริหาร
บริหารงานวิชาการ การบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคล งานบริหารทั่วไป
๑.การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ๑.การจัดทำและเสนองบประมาณ ๑.การวางแผนอัตราลากำลังกำหนดตำแหน่ง ๑.การดำเนินงานธุรการ
๒.การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ๒.การจัดสรรงบประมาณ ๒.การสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง ๒.งานเลขานุการคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน
๓.การวัดผล ประเมินผลและเทียบโอน ผลการเรียน ๓.การตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล และราย งาน ผลการใช้เงินและผลการดำเนินงาน ๓.การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ๓.งานพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูล สารสนเทศ
๔.การวิจัยเพื่อการพัฒนา ๔.การระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา ๔.วินัยและการรักษาวินัย ๔.การประสานและพัฒนาเครือข่ายการศึกษา
๕.การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ทางการศึกษา ๕.การบริหารการเงิน ๕.การออกราชการ ๕.การจัดระบบการบริหารและพัฒนาองค์กร
๖.การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ ๖.การบริหารบัญชี ๖.งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
๗.การนิเทศการศึกษา ๗.การบริหารพัสดุและสินทรัพย์ ๗.การส่งเสริม สนับสนุนด้านวิชาการ งบประมาณ บุคลากรและบริหารทั่วไป
๘.การแนะแนวการศึกษา ๘.การดูแลอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
๙.การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภาย ในสถานศึกษา ๙.การจัดทำสำมะโนผู้เรียน
๑๐.การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชน ๑๐.การรับนักเรียน
๑๑.การประสานความร่วมมือในการพัฒนา วิชาการกับสถานศึกษาอื่น ๑๑.การส่งเสริมและประสานงานการกึกษาในระบบนอกระบบการตามอัธยาศัย
๑๒.การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการ แก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา ๑๒.การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
๑๓.งานส่งเสริมงานกิจการนัดเรียน
๑๔.งานประชาสัมพันธ์งานการศึกษา
๑๕.การส่งเสริมสนับสนุนและประสานงานการศึกษาของชุมชน องค์กร หน่วยงาน และสถาบัน สังคมอื่นที่จัดการศึกษา
๑๖.งบประสานราชการกับเขตพื้นที่การศึกษาและหน่วยงานอื่น
๑๗.การจัดประสานราชการกับเขตพื้นที่การ ศึกษาและหน่วยงานอื่น
๑๘.งานบริการสาธารณะ
๑๙.งานที่ไม่ได้ระบุไว้ในงานอื่น

สภาพปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนา
1. โรงเรียนมีสื่อที่ทันสมัยอยู่บ้าง เช่น ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ แต่ไม่สามารถจัดกิจกรรมได้อย่างเต็มที่เพราะอุปกรณ์ที่ได้มานานและชำรุดใช้การไม่ได้และมีเครื่องคอมพิวเตอร์น้อยนักเรียนจึงได้เรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์น้อย และได้ศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ตได้ไม่เต็มที่
2. การจัดสารสนเทศทำการปฏิบัติงานในสถานศึกษายังไม่เป็นระบบเท่าที่ควรทำให้เกิดความล่าช้าในการค้นหาข้อมูล และไม่ได้รายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียทันเวลา
3. สถานศึกษายังไม่ได้ปรับปรุงแบบเก็บข้อมูลให้กะทัดรัด ชัดเจน เข้าใจง่าย สะดวกต่อการใช้ง่ายต่อการเก็บรักษาและลดความซ้ำซ้อนของงานโดยไม่จำเป็น สร้างเครื่องมือเก็บยังไม่สอดคล้องกับลักษณะของข้อมูลและแหล่งข้อมูล เช่น แบบสำรวจ แบบรายงาน หรือ แบบสอบถาม เป็นต้น
4.. บุคลากรยังไม่มีความรู้ในด้านการจัดทำสารสนเทศด้วยระบบคอมพิวเตอร์ วิธีการใช้โปรแกรมต่างๆ ที่จะต้องปรับปรุงระบบสารสนเทศของโรงเรียนแก่บุคลากรในโรงเรียนจึงควรให้การฝึกอบรมและพัฒนาครูให้มีความรู้ ความสามารถในการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ได้ เรียนรู้วิธีการใช้โปรแกรมต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานของตนเอง เพื่อกระจายงาน และมีข้อมูลทันต่อการใช้งาน
3. ควรจะมีผู้รับผิดชอบและประสานงานปรับปรุงระบบสารสนเทศจัดให้อยู่ใน รูปคณะกรรมการโดยคัดเลือกจากบุคคลที่เหมาะสม และมีจำนวนมากพอกับปริมาณงานที่ต้องรับผิดชอบ



ผู้ให้ข้อมูล นางสาวศศิธร ช่วยสงค์
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านคลองตีนเป็ด ณ วันที่ 17 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ (รหัส 1036301)
เสนอ ดร.ประกอบ ใจมั่น และ อ.อภิชาติ วัชรพันธุ์
โดย นางสาวศศิธร ช่วยสงค์ รหัส 5246701009
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต การบริหารการศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ระบบข้อมูล
1. ผู้รับผิดชอบและประสานงานวิเคราะห์ความต้องการข้อมูลโดยดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1.1 จำแนกรายการประเภทข้อมูลให้ครอบคลุมการดำเนินงานของโรงเรียนทุก
ท่าน ทั้ง ด้านวิชาการ ธุรการ บุคลากร การบริหารงานทั่วไป
1.2 ปรับปรุงแบบเก็บข้อมูลให้กะทัดรัด ชัดเจน เข้าใจง่าย สะดวกต่อการใช้ง่าย
ต่อการ เก็บรักษา และลดความซ้ำซ้อนของงานโดยไม่จำเป็น สร้างเครื่องมือเก็บให้สอดคล้อง กับลักษณะของข้อมูลและแหล่งข้อมูล เช่น แบบสำรวจ แบบรายงาน หรือ แบบสอบถาม เป็นต้น
1.3 กำหนดระบบการรวบรวม การเก็บรักษา การทำข้อมูลให้เป็นปัจจุบันรวมทั้ง
การ นำเสนอและการใช้ข้อมูล
1.4 นำผลที่ได้จาก ข้อ 1.1 - 1.3 ไปชี้แจงตกลงร่วมกันกับ ครูทั้งโรงเรียน เพื่อให้เกิด
ความ เข้าใจและยอมรับร่วมกัน
2. จัดระบบสารสนเทศตามที่ได้ตกลงกันไว้
3. ทดลองใช้ระบบสารสนเทศระยะหนึ่งแล้วปรับปรุงให้เหมาะสมได้ประโยชน์และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
4. แต่ละงาน ฝ่าย และผู้บริหารระบุรายการข้อมูลที่ใช้ปฏิบัติงาน และให้บริการตามลำดับความจำเป็นก่อนและหลัง อาจรวบรวมในเวลาที่ต่างกัน แล้วแต่ความสะดวกรวดเร็ว และทันต่อการนำไปใช้ เช่น อาจเก็บข้อมูลเป็นวัน สัปดาห์ เดือน ภาคการศึกษา ปีการศึกษา หรือปีงบประมาณเป็นต้น และให้สอดคล้องกับกำหนดวันจัดเก็บข้อมูลของสำนักการศึกษา
5. ประสานงานกับผู้พัฒนาโปรแกรมให้มีชุดคำสั่งในการสำรองข้อมูลอัตโนมัติ (Back up Data) เพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย
6. จัดทำเอกสาร คู่มือ การใช้งานของโปรแกรมต่างๆ สำหรับให้ศึกษาเพิ่มเติม ได้ตลอดเวลา
7. มีการตรวจสอบข้อมูล คือ มีความเป็นปัจจุบัน ข้อมูลที่เกิดทันต่อการใช้งาน มีความเที่ยงตรง ตามเนื้อหาของสาระสนเทศที่ต้องการ

บุคลากร
1. ให้ความรู้และเหตุผลที่จำเป็นต้องปรับปรุงระบบสารสนเทศของโรงเรียนแก่บุคลากรในโรงเรียน
2. ให้การฝึกอบรมและพัฒนาครูให้มีความรู้ ความสามารถในการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ได้ เรียนรู้วิธีการใช้โปรแกรมต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานของตนเอง เพื่อกระจายงาน และมีข้อมูลทันต่อการใช้งาน
3. ผู้รับผิดชอบและประสานงานปรับปรุงระบบสารสนเทศจัดให้อยู่ในรูปคณะกรรมการโดยคัดเลือกจากบุคคลที่เหมาะสม และมีจำนวนมากพอกับปริมาณงานที่ต้องรับผิดชอบ

ด้านทรัพยากรของระบบ
1. จัดให้มีศูนย์สารสนเทศระดับโรงเรียน มีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย และการสื่อสารข้อมูลสารสนเทศแบบเชื่อมตรงกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก โดยใช้ระดับ Intranet
2. ประสานงานกับผู้ดูแล Website ให้ปรับปรุงการทำงานของโปรแกรม เพื่อให้ผู้กรอกข้อมูลสามารถกรอกข้อมูลแบบ Offline ได้
3. จัดหาอุปกรณ์เสริมให้ครบถ้วนเพื่อความสะดวกในการใช้งาน และจัดหาวัสดุให้เพียงพอต่อการใช้งาน เช่น แผ่นซีดี แผ่นดิสก์ และอื่นๆ

งบประมาณ
โรงเรียนต้องจัดสรรงบประมาณสำหรับขยายระบบสารสนเทศและพัฒนานวัตกรรมให้มีสมรรถนะการทำงานที่สูงขึ้น โดยขอจัดสรรงบประมาณจากหน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ของบแปรญัตติจากสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร มีแผนการใช้งบประมาณที่รองรับการขยายระบบสารสนเทศและพัฒนานวัตกรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น